ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การระบุชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยาในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
Molecular Identification of Macrofungi in Plant Genetic Conservation Project Area, Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi Province
เสาวภา สุราวุธ, ชุตาภา คุณสุข, สรศักดิ์ นาคเอี่ยม และ ณมนรัก คำฉัตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2565
ในการสำรวจเห็ดราขนาดใหญ่ภายในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ได้ทำการสำรวจ 2 เส้นทาง คือ บริเวณเส้นทางป่าพรุและบริเวณเส้นทางป่าบก ในปี 2564 รวมระยะเวลา 10 เดือน จากผลการสำรวจสามารถเก็บเห็ดตัวอย่างได้ทั้งหมด 185 ตัวอย่าง จากนั้นทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น แล้วคัดเลือกเฉพาะเห็ดราขนาดใหญ่ที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกัน มาทำการระบุชนิดด้วยวิธีทางอณูชีววิทยาโดยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ตำแหน่ง Internal Transcribed Spacer (ITS) ผลการศึกษาพบว่า สามารถจัดจำแนกเห็ดได้ทั้งหมด 41 ชนิด โดยจัดจำแนกอยู่ใน 2 ไฟลัม, 5 ชั้น, 11 อันดับ 21 วงศ์ 34 สกุล โดยเห็ดที่สำรวจพบส่วนใหญ่จัดอยู่ในไฟลัม Basidiomycota จำนวน 35 ชนิด (85.4%) ซึ่งพบเห็ดในวงศ์ Polyporaceae มากที่สุด จำนวน 10 ชนิด (24.4%) และเห็ดส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นเห็ดกินซาก (saprotroph) พบจำนวน 40 ชนิด (97.6%) โดยที่ส่วนใหญ่เห็ดรายังไม่มีข้อมูลว่ากินได้หรือไม่ (unknown data) จำนวน 29 ชนิด คิดเป็น 70.7% ทั้งนี้พบเห็ดที่มีรายงานว่ากินได้ (edible) จำนวน 8 ชนิด (19.5%) คือ Cookeina sulcipes (เห็ดถ้วยขนสั้น), Cookeina tricoloma (เห็ดถ้วยขนยาว), Amauroderma rugosum (เห็ดจวักงู), Termitomyces sp. (เห็ดโคน เห็ดปลวก), Schizophylum commune (เห็ดตีนตุ๊กแก), Auricularia cornea (เห็ดหูหนูดำ), Dacryopinax spathularia (เห็ดพายทอง) และ Tremella fuciformis (เห็ดหูหนูขาว) โดยพบเห็ดที่มีรายงานว่ามีพิษ (poisonous) จำนวน 4 ชนิด (9.8%) คือ Entoloma omiense, Lepiota thrombophora, Inocybe parvisquamulosa และ Scleroderma xanthochroum โดยเห็ด Microporus xanthopus (เห็ดกรวยทองตะกู) เป็นเห็ดชนิดเด่นในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช ทั้งนี้เห็ดบางชนิดควรทำการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ตำแหน่งอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อการระบุชนิดได้อย่างถูกต้อง
The aims of this study were to investigate the biodiversity and functional distribution of macrofungi within the Plant Genetic Conservation Area of Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi Province, Thailand, and to identify the macrofungi by sequence analysis of their internal transcribed spacer (ITS) regions. One hundred and eighty-five macrofungi samples were collected from the survey routes in 2021. The macrofungi with different morphologies were selected to perform molecular identification by sequence analysis of ITS. A total of 41 samples of representative macrofungi were classified into 2 phyla, 5 classes, 11 orders, 21 families, and 34 genera. The macrofungi were found to be in the phylum Basidiomycota (35 taxa, 85.4%), the family Polyporaceae (10 taxa, 24.4%), and Microporus xanthopus was the most frequently found species in every month of samples collection. Their role in the ecosystem was saprotroph (40 taxa, 97. 6%), symbiotroph (7 taxa, 17. 0%), and pathotroph (4 taxa, 9.8%). In addition, there was no published information about the edibility of many of the macrofungi (29 taxa, 70.7%); however, some edible (8 taxa, 19.5%) and poisonous macrofungi (4 taxa, 9.8%) had previously been reported. Interestingly, some macrofungi samples need more investigation for further identification, and additional genes may be required for the study.
เห็ดราขนาดใหญ่, การระบุชนิด, ไอทีเอส, พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช, จันทบุรี
macrofungi, identification, ITS, plant genetic conservation area, Chanthaburi
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2024-01-25 16:25:18