ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ผลกระทบต่อการเปิดวังสวนบ้านแก้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
The result of open Suan Ban Kaew Palace to be a historical tourist attraction
ธนกร ภิบาลรักษ์ , อภิวรรณ ศิรินันทนา , ปัญญา วงศ์ต่าย และ วนิดา จงดี
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัย
2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการเปิดวังสวนบ้านแก้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และศึกษาประวัติความเป็นมาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และวังสวนบ้านแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เจ้าหน้าที่มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ดูแลวังสวนบ้านแก้ว ผู้ประกอบการค้าขาย และประชาชนทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสบรรยากาศของความเป็นวังซึ่งเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีความรู้สึกประทับใจ และพบว่ามีนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ตามฐานต่างๆ เช่น ตำหนักใหญ่ ตำหนักแดง เรือนเขียว เรือนเทา เรือนแดง สวนส่วนพระองค์ เป็นต้น ส่งผลให้นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาได้เรียนรู้แบบบูรณาการ ส่วนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมนั้นจะมีเป็นช่วงระยะเวลา เช่น ช่วงเทศกาลผลไม้ในวัง ช่วงงานวันสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีมีนักท่องเที่ยวมาจำนวนมาก และผลกระทบจากการเปิดวังสวนบ้านแก้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ส่งผลดีในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจโดยรอบมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาทำให้การค้าขายของคนในชุมชนดีขึ้น ด้านสังคมถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดจันทบุรีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบในทางลบ ได้แก่ ปัญหาด้านการจัดการขยะ ปัญหาด้านมัคคุเทศก์ที่มีไม่เพียงพอ ปัญหาด้านการจราจรคือที่จอดรถไม่เพียงพอ เมื่อนักท่องเที่ยวมาพร้อมกันจำนวนมาก ปัญหาด้านการบริการ เช่น ที่พักไม่เพียงพอ ปัญหาป้ายบอกทาง ปัญหาห้องน้ำไม่มีเพียงพอให้บริการ ทั้งนี้ สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณียังคงต้องรักษา มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของวังสวนบ้านแก้วต่อไป
The purpose of this research was to study the result of open Suan Ban Kaew Palace to be a historical tourist attraction as well as study the history of Queen Rambhai Barni and Suan Ban Kaew Palace by using a qualitative research methodology. Their Tools used to collect data include surveys, observations, interviews and group discussions. The group of informants consisted of guide staff security guard Suan Ban Kaew Palace caretaker merchant and the general public The results of the research found that tourists have an impression and found that students came to learn at various bases such as Grand Palace, Red House, Green House, Gray House, Red House, His Majesty is Garden, etc. As a result, students who come to study have integrated learning. As for tourists who visit, there will be a period of time for example during the fruit festival in the palace there will be many tourists. When the impact of the opening of Suan Ban Kaew Palace as a historical tourist attraction good results in many aspects. For example, the surrounding economy has improved. The trade of people in the community was better. The social aspect a reputation for Chanthaburi. History and culture is who are interested in studying history and culture. The negative impacts that the problem of waste management and insufficient guides traffic problems and service problems such as insufficient accommodation road sign problem Bathroom. Finally, the Office of Arts and Culture and Community Development Rambhai Barni Rajabhat University must maintain tourism standards History of Suan Ban Kaew Palace.
วังสวนบ้านแก้ว, ผลกระทบ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
Suan Ban Kaew Palace, Results, Historical tourist attraction
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-10-01 13:14:57