Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การยับยั้งเชื้อราของน้ำส้มควันไม้จากผลและกิ่งมังคุด
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Chemical Constituents and Antifungal Activities of Pyroligneous Acid from Mangosteen Fruitand Branch
ชื่อผู้แต่ง
อาจารย์ ดร.สุนิษา สุวรรณเจริญ,อาจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2558
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราPhytophthorasp.และ Colletotrichumcapsiciของน้ำส้มควันไม้จากการเผาผลมังคุดด้อยคุณภาพและกิ่งมังคุดซึ่งราทั้ง 2 ชนิดที่ศึกษาเป็นราก่อโรคในพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างน้ำส้มควันไม้ในช่วงที่ 1 (ช่วงไล่ความชื้น) และช่วงที่ 2 (ช่วงไม้กลายเป็นถ่าน)และศึกษาผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ที่ระยะ 2, 3 และ 4 เดือน พบว่าน้ำส้มควันไม้ที่ได้มีค่า pH ใกล้เคียงกันคือ อยู่ในช่วง 4.25-5.10 จุดเดือด 105-113 องศาเซลเซียสและความหนาแน่น0.9647-1.0277 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร จากการตรวจหากลุ่มสารองค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทั้งก่อนการสกัดและหลังการสกัดด้วยเฮกเซน และไดคลอโรมีเทน พบกลุ่มสารองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ อัลคาลอยด์ สารประกอบฟีนอลิกและเทอร์พีนอยด์ สำหรับการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเฮกเซนและไดคลอโรมีเทนจากน้ำส้มควันไม้จากกิ่งและผลมังคุดด้อยคุณภาพด้วยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี (TLC) พบว่าเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษานานขึ้นจุดสารที่เป็นองค์ประกอบบางจุดหายไป นอกจากนี้ยังพบจุดสารองค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ช่วงที่ 2มากกว่าช่วงที่ 1อีกด้วย และจากการแยกองค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ด้วยวิธีพรีพาราทีฟทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี(PLC) ของสารสกัดหยาบน้ำส้มควันไม้จากกิ่งมังคุดช่วงที่ 1 ที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนที่มีระยะเวลาการเก็บรักษา 2 เดือนสามารถแยกส่วนสารสกัดออกมาได้ทั้งหมด 7 ส่วน พบว่าส่วนที่ 2ตรวจพบสารในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกและเทอร์พีนอยด์ และส่วนที่ 3-7 พบสารในกลุ่มเทอร์พีนอยด์ ซึ่งสารในกลุ่มฟีนอลิกและเทอร์พีนอยด์นี้มักเป็นสารที่สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ สำหรับฤทธิ์การยับยั้งเชื้อราColletotrichumcapsici และ Phytophthorasp. ของน้ำส้มควันไม้จากผลมังคุดด้อยคุณภาพและกิ่งมังคุดพบว่า น้ำส้มควันไม้ช่วงที่ 2 มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อทั้งสองชนิดนี้ได้ดีกว่าน้ำส้มควันไม้ช่วงที่ 1 โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากผลมังคุดและกิ่งของมังคุดแล้วพบว่าน้ำส้มควันไม้ที่มาจากกิ่งมังคุดมีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อราที่ดีกว่า และยังพบว่าระยะเวลามีต่อฤทธิ์การยับยั้งเชื้อราโดยน้ำส้มควันไม้ทั้งจากกิ่งมังคุดและผลมังคุดด้อยคุณภาพ โดยพบว่าเมื่อเก็บไว้เป็นระยะเวลา 4 เดือนจะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราPhytophthorasp. ได้ดีที่สุด สำหรับฤทธิ์การยับยั้งเชื้อรา Colletotrichumcapsici ของน้ำส้มควันไม้จากผลมังคุดด้อยคุณภาพให้แนวโน้มทำนองเดียวกัน แต่สำหรับน้ำส้มควันไม้จากกิ่งมังคุดพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
This researchstudied the chemical constituents and antifungal activities againstPhytophthora sp.andColletotrichumcapsiciof wood venigar from mangosteen fruitand branch. These two fungi were plant pathogens in many Thai economic plants. The wood venigars were collected from dehydration step (part 1) and carbonization step (part 2). Physical properties, pH, boiling point and density of wood venigar after stored for 2, 3 and 4 months were found in range of4.25-5.10, 105-113C and 0.9647-1.0277 g/cm3, respectively.The chemical constituents screening of those wood vinegars, before and after extracted with hexane and dichloromethane, showed alkaloids, phenolic compounds and terpenoids. The thin layer chromatography (TLC) of hexane and dichloromethane form wood vinegars showed that some spots on TLC were disappear after long time storing. Moreover, the chemical spots from carbonization step wood venigar extracts showed more than dehydration step wood venigar extracts. The preparative thin layer chromatography (PLC) of dehydration step wood venigar crude extract from mangosteen branch which stored for 2 months gave 7 fractions. Fraction 2 showed phenolic compounds and terpenoids while fraction 3-7 showed only terpenoids. These two chemical groups were usually reported as bioactive compounds. The antifungal activities againstPhytophthora sp.andColletotrichumcapsiciof wood venigar demonstrated thatcarbonization step wood venigar gave more activity than dehydration step wood venigar and wood venigar from branch showed higher activity than wood venigar from fruit. In addition, the 4 months stored wood venigar showed highest activity against Phytophthora sp.ForColletotrichumcapsiciinhibition of wood venigar from fruitshowed similar activity, but from branch showed not significant different activity in diferrent long time storing.
คำสำคัญ
องค์ประกอบทางเคมี, การยับยั้งเชื้อรา
Keywords
Chemical Constituents, Antifungal Activities
เพิ่มข้อมูลโดย
เจียมจิต บวชไธสง
แก้ไขล่าสุด
2020-02-27 09:35:07
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก