Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การขยายเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 และผลของเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ต่อการควบคุม โรคตับอักเสบเฉียบพลันในกุ้งขาวแวนนาไม
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Expansion of Microbial Culture Pormor1 and Its Efficiency to Control Hepatopancreatic Necrosis Disease in White Shrimp (Litopenaeus vannamei)
ชื่อผู้แต่ง
เสาวภา สุราวุธ, กัญญารัตน์ สุนทรา และวิญญู ภักดี
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2563
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ เพื่อทำการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 แล้วทำการศึกษาชนิดของน้ำและอาหารที่เหมาะสมกับการขยายเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 และเพื่อศึกษาผลของเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ต่อการควบคุมเชื้อวิบริโอ (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease, AHPND) หรือที่เรียกกันว่า โรคตายด่วนในกุ้ง หรือ EMS (Early Mortality Syndrome) ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกร โดยจากผลการศึกษาชนิดของน้ำและอาหารที่เหมาะสมกับการขยายเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ชนิดน้ำ พบว่าน้ำที่ใช้ขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดคือน้ำจืดที่สะอาด ในส่วนของอาหารขยายสามารถใช้ได้ทั้งน้ำตาลทรายและกากน้ำตาล เมื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพของหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ต่อการควบคุมโรคในระดับห้องปฏิบัติการ โดยทำการติดเชื้อกุ้งด้วยเชื้อ Vibrio parahaemolyticus แล้วทำการเลี้ยงกุ้งด้วยอาหารผสมเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน คือ อาหารผสมเชื้อ Bacillus megaterium, B. subtilis, B. licheniformis อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาหารผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ซึ่งเตรียมจากการผสม Bacillus ทั้ง 3 ชนิด พบว่ากุ้งที่ติดเชื้อแล้วทำการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 มีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด เมื่อทำการตรวจหาเชื้อ V. parahaemolyticus ด้วยวิธี PCR ในเนื้อเยื่อของกุ้ง พบว่า กุ้งติดเชื้อที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สามารถตรวจพบเชื้อ V. parahaemolyticus ในตับของตัวอย่างกุ้งได้น้อยสุด โดยกุ้งติดเชื้อที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมเชื้อ B. megaterium, B. subtilis, B. licheniformis อย่างใดอย่างหนึ่ง พบการแพร่กระจายของเชื้อ V. parahaemolyticus ในเกือบทุกเนื้อเยื่อของตัวอย่างกุ้งที่นำมาทดสอบ นอกจากนี้ในการศึกษาในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกร จำนวน 5 ฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเกษตรกรมีการใช้จุลินทรีย์ ปม. 1 ในการเตรียมบ่อ โดยตรวจติดตามเชื้อ V. parahaemolyticus สายพันธุ์ก่อโรค AHPND ด้วยวิธี PCR ในตัวอย่างน้ำ ดิน และกุ้งในบ่อเลี้ยง พบว่าการใช้จุลินทรีย์ ปม. 1 เพื่อควบคุมการเกิดโรคในบ่อเลี้ยงจากทั้ง 5 ฟาร์ม ให้ผลในช่วงระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อ V. parahaemolyticus ที่แตกต่างกัน โดยในฟาร์มที่ 1 และฟาร์มที่ 4 ตรวจพบเชื้อ V. parahaemolyticus ได้เร็วกว่าจากฟาร์มอื่น ๆ แต่ฟาร์มที่ 2, 3, และ 5 พบว่าตรวจพบเชื้อ V. parahaemolyticus ได้ช้ากว่า ดังนั้น จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สามารถช่วยลดความรุนแรงโรค AHPND โดยลดการแพร่กระจายของเชื้อไปยังตับซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเป้าหมายของโรคนี้ ทำให้กุ้งมีอัตราการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการใช้เชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ในบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร พบว่ายังสามารถตรวจพบ V. parahaemolyticus สายพันธุ์ก่อโรค AHPND ในตัวอย่างดิน น้ำ และกุ้ง โดยที่มีบางฟาร์มตรวจพบได้ช้าและมีบางฟาร์มตรวจพบได้เร็วแต่ยังคงสามารถเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้ โดยข้อมูลจากงานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพและกลไกของหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ที่ช่วยในการป้องกันและลดความรุนแรงของโรค AHPND ที่จะทำให้เกิดความเสียหายให้แก่กุ้งที่เลี้ยงและยังเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ในพื้นที่จันทบุรี ทั้งนี้เพื่อลดการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะแล้วหันมาใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดและควบคุมโรคแทน
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The objectives of this study were to investigate the mixed culture of Bacillus megaterium, B. subtilis and B. licheniformis called Pormor1, to control Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease (AHPND) or EMS (Early Mortality Syndrome) in white shrimp Litopenaeus vannamei by produced Pormor1 in various water, sugar and sugar crane for microbial spawning and evaluated efficiency of Pormor1 in control of the infection in laboratory and aquaculture farm. The microbial spawning of Pormor1 revealed that freshwater was suitable for spawning that determined by the good growth of Bacillus and no growth of Vibrio, but not different in sugar and sugar crane for Pormor1 spawning. The efficiency of Pormor1 in control of the infection in the laboratory was investigated. The infected shrimps by Vibrio parahaemolyticus AHPND strain were divided into tanks and different feeding with either Bacillus megaterium, B. subtilis or B. licheniformis and feeding with Pormor1. The infected shrimps that were feed with Pormor1 showed the highest survival rate and revealed little detection of V. parahaemolyticus AHPND strain in their tissues by PCR (Polymerase Chain Reaction). In contrast, the infected shrimp feeding with each of Bacillus megaterium, B. subtilis or B. licheniformis revealed the spread of V. parahaemolyticus in all tissues by PCR. Five aquaculture farms of shrimp in Chanthaburi province with the preparation of pond by Pormor1 were monitored for V. parahaemolyticus infection in water, soil, and shrimp by PCR method. The result showed that the period time of V. parahaemolyticus AHPND strain detected was different by 1st and 4th Farms were rapidly V. parahaemolyticus detected. In contrast, 2nd, 3th, and 5th Farms were delay in V. parahaemolyticus detected by PCR. This study indicated that Pormor1 or the mixed culture of Bacillus was able to control disseminated of V. parahaemolyticus in shrimps especially in hepatopancreatic that is the target tissue of acute hepatopancreatic necrosis disease in white shrimp (Litopenaeus vannamei). Additionally, the aquaculture of shrimp with Pormor1 could be detected V. parahaemolyticus AHPND strain in sol, water, and shrimp. Although some farms were delay and some farms were rapidly detected of this pathogen by PCR, but all shrimps could be harvested for commercial. The result of this study revealed the efficiency and mechanism of Pormor1 to control the virulence of AHPND and support the use of Pormor1 in aquaculture of shrimp in Chanthaburi to avoid chemical and antibiotic treatment by using Pormor1 as a biological control.
คำสำคัญ
โรคตับอักเสบเฉียบพลัน, กุ้งขาวแวนนาไม, วิบริโอ, ปม.1, การควบคุมทางชีวภาพ
Keywords
Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease (AHPND), Litopenaeus vannamei, Vibrio parahaemolyticus, Pormor1, Biocontrol
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2021-11-02 13:45:58
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย