ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

รูปแบบการประยุกต์ใช้จิตวิทยาการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
Educational psychology form for Integration subject learning develop in Border Patrol Police School
อาจารย์นิศากร หวลจิตร์,อาจารย์ธฤษวรรณ บัวศรีคำ,อาจารย์อนันตชัย แปดเจริญ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2558
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชา โดยใช้หลักจิตวิทยาการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างครูผู้สอนต่างสาระวิชา ปราชญ์ชุมชน ผนวกเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่สอดคล้องกับ การสื่อสารในภาษาไทยและกระบวนการคิดวิเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ คณะผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน การวิจัยในครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงประยุกต์(applied research)โดยผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ ร่วมสังเกตในกระบวนการเรียนการสอน การจัดประชุมระดมสมอง การนิเทศติดตามผล และการร่วมกันถอดบทเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้จิตวิทยาการศึกษาส่งผลให้นักเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างสาขาวิชา2) การเรียนรู้ในลักษณะนี้ส่งผลให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมีความใกล้ชิดกันระหว่างครูผู้สอน และผู้เรียน สร้างความสุขให้กับนักเรียน 3) ผลที่ได้รับจากการประชุมระดมสมอง และถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายส่งผลให้เกิดการประสานความร่วมมือกันรวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำวิจัย
The objectives of this research were to find out the integration subject modelbased on educational psychology in Border Patrol Police Schools. The samples include the administrators, teachers and students of the Border Patrol Police school. This research utilized the Participatory Action research method with the use of interview, observation of learning process, brainstorming, follow-up monitoring, and taking part in finalization of the learning process. The research has found that: 1) The integration subject model for student of Border Patrol Police school depended on the motivation to learn as well as have the ability to apply knowledge between disciplines, 2) In case of learning environment, there was a decent relationship between teachers, and students were satisfied with the results as they have been encouraged and motivated to learn, and 3) The results from brainstorming sessions and taking part in finalization of learning process were improving the cooperation from relevant parties and encourage students to participate in the research process.
จิตวิทยาการศึกษา
Educational psychology
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-18 15:10:00