ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การนำเสนอรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
A Proposed Model For The Organization Of Dramatic Learning Course For Students From Grades 4 To 6 On Basic Education Curriculum Of The Schools Under The Chanthaburi Educational Service Area Office 1
วิวัฒน์ เพชรศรี และ ธีรพงษ์ จันเปรียง
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยเรื่องการนำเสนอรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 ด้านการจัดการเรียนรู้ตามสาระนาฏศิลป์ และด้านการวัดและประเมินผลนาฏศิลป์ ของครูสอนวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนสาระนาฏศิลป์ของครูสอนวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1 3) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูผู้สอนสาระนาฏศิลป์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 จำนวน 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของดาเลน (Dalan) ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม และครูผู้สอนสาระนาฏศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 10 คน ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ด้านการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์สภาพการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ด้านการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.22 ด้านการวัดและประเมินผลสาระนาฏศิลป์ พบว่า ครูผู้สอนใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผลสารนาฏศิลป์ ด้วยเครื่องมือวัดที่หลากหลาย เช่นแบบสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบทดสอบชนิดเลือกตอบและเขียนตอบ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล คือการสร้างเครื่องมือ และการวัดที่ไม่ครอบคลุมด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย 2. สิ่งที่ครูผู้สอนนาฏศิลป์สาระนาฏศิลป์ต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนสาระนาฏศิลป์ของครูสอนวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต1 คือการอบรมเพิ่มเติมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74 และสิ่งที่ครูต้องการอบรมเพิ่มเติมคือการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ การสอนโครงงานทางนาฏศิลป์ และการสอนนาฏศิลป์ด้วยเกม 3. สิ่งที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนนาฏศิลป์ คือ เวลาที่เหมาะสม 60 นาที/คาบ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านในโรงเรียนพบว่าควรปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนด้านสาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ด้านสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ การส่งเสริมสนับสนุนของฝ่ายบริหาร สำหรับรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ยังคงยึดถือตามแบบแผนประเพณีคือการสอนโดยการสาธิต
Research on the presentation of dance teaching styles according to the core curriculum of basic education 2008 for grade 4 - 6 students in the Chanthaburi Educational Service Area Office 1. The aims of this research were: 1) to study the conditions and problems in the learning management of elementary school dance at grade 4-6, learning management according to the art of dance and the measurement and evaluation of dance of dance instructors in schools under the Chanthaburi Educational Service Area Office 1; 2) to study the needs for the development of teaching and learning of the art of dance of the dance teachers in schools under the Office of Chanthaburi Educational Service Area Office 1.and 3) to be a basic information for use as a guideline for the development of teaching and learning 10 of dance. The sample group consisted of 16 teachers in the art of dance at grade 4-6 under the Office of Chanthaburi Educational Service Area Office 1. The number of 16 people were selected according to the concept of Dalan, and all of them gave the information by answering questionnaires. The others 10 teachers were interviewed. The research tools consisted of questionnaires and interview form. The research found that 1. The condition of learning the art of dance Grade 4 - 6, Chanthaburi Education Service Area Office 1,were the management of learning arts and dance, the condition of learning the art of dance Grade 4 - 6, Chanthaburi Education Service Area Office 1 was at the high level with an average of 4.22. The measurement and evaluation of dance arts, was found that teachers used tools to measure and evaluate dance arts with variety of measuring tools such as behavior observation forms and practical skills assessment forms. Type quiz, answer choice and write reply Problems related to measurement and evaluation Is to create tools and measurements that do not cover cognitive aspects skills and affectionate. 2. Dramatic art teachers need to develop the teaching and learning of the art of dance in the school under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area, District 1, by providing the training course at the very high level 3.74 and what teachers need additional training of creative dance performances, teaching dance projects, and teaching dance with games. 3. The basic information that is used to improve the teaching and learning of dance was the appropriate time of 60 minutes / period and the results of the data analysis in the school found that the teaching and learning of arts should be improved. For grade 4-6 students, the areas used for teaching and learning of dance should be provided, the promotion of management should be supported by the administers, and the style of dance teaching still adheres to the tradition, teaching and demonstration.
รูปแบบ,การสอนนาฏศิลป์,หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Model, Dramatic learning Course, Basic Curriculum
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-28 14:17:25