Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะครุศาสตร์
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อคุณภาพชีวิต ด้านร่างกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Flexibility Development Using a Muscle Stretching Program For Quality of Elderly Physical Domain in Chanthaburi
ชื่อผู้แต่ง
ชิดชนก ศรีราช และ ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2562
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย (2) เปรียบเทียบความอ่อนตัวภายในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามระยะเวลาทดลอง (3) เปรียบเทียบความอ่อนตัวระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม (4) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านร่างกายภายในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามระยะเวลาทดลอง และ (5) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านร่างกายระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 74 ปี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความอ่อนตัว และแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ใน ช่วง .39 - .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t กรณีกลุ่มตัวอย่างอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความอ่อนตัวก่อนการทดลองอยู่ในระดับต่ำ หลังทดลอง 4 สัปดาห์อยู่ในระดับปานกลาง และหลังทดลอง 8 สัปดาห์อยู่ในระดับดีมาก ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองอยู่ในระดับต่ำ หลังทดลอง 4 สัปดาห์อยู่ในระดับต่ำ และหลังทดลอง 8 สัปดาห์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคุณภาพชีวิตด้านร่างกายกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง หลังทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังทดลอง 8 สัปดาห์อยู่ในระดับกลาง (2) หลังจากใช้โปรแกรมการฝึก 8 สัปดาห์ ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ย ความอ่อนตัวมากกว่าหลังใช้ 4 สัปดาห์และก่อนทดลอง และหลังใช้ 4 สัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) หลังจากทดลอง 4 สัปดาห์และหลังจากทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัวมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) หลังจากใช้โปรแกรมการฝึก 8 สัปดาห์ ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมากกว่าหลังใช้ 4 สัปดาห์และก่อนทดลอง และหลังใช้ 4 สัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (5) หลังจากทดลอง 4 สัปดาห์และหลังจากทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The purposes of this research were: (1) to study the flexibility and the quality elderly physical domain; (2) to compare the flexibility within the group using the muscle stretching program in the time period set; (3) to compare the flexibility between the experimental group and the control group; (4) to compare the quality of life in the physical domain within the group using the muscle stretching program in the time period set; and (5) to compare the quality of life in the physical domain between the experimental group and the control group. The sample group consisted of 60 people aged between 60 and 74 living in Chanthaburi selected by purposive sampling. The research instruments were a flexibility test and a test used to measure the quality of life in the physical domain with a discrimination of .39 - .80 and a reliability of .82. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, independent sample t-test, and one-way repeated measures ANOVA. The results revealed that: (1) the experimental group got the mean score of flexibility at the low level. After 4 weeks of experiment was at the moderate level. And after 8 weeks was at the high level. For the control group, before the experiment, got the mean score of flexibility at the low level. After 4 weeks of experiment was at the low level. And after 8 weeks was at the moderate level. For the quality of life in the physical domain, the control group and the experimental group got the mean score before the experiment, after 4 weeks of experiment and after 8 weeks of experiment at the moderate level; (2) after 8 weeks of using the program, the elderly got the mean score of flexibility more than after 4 weeks of using the program and before the experiment. And after 4 weeks of using the program, they got the mean score of flexibility more than before the experiment at the statistically significant level of .05; (3) after 4 weeks of experiment and after 8 weeks of experiment, the experimental group got the mean score of flexibility more than the control group at the statistically significant level of .05; (4) after 8 weeks of using the program, the elderly got the mean score of the quality of life in the physical domain more than after 4 weeks of using the program and before the experiment. And after 4 weeks of using the program, they got the mean score of the quality of life in the physical domain more than before the experiment at the statistically significant level of .05; and (5) after 4 weeks of experiment and after 8 weeks of experiment, the experimental group got the mean score of the quality of life in the physical domain more than the control group at the statistically significant level of .05.
คำสำคัญ
ความอ่อนตัว, คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย, ผู้สูงอายุ
Keywords
flexibility, quality elderly physical domain, the elderly
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2021-02-10 13:15:28
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย