ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้ง กลุ่มหอยนางรมครบวงจรคุ้งกระเบน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Improvement of performance and quality of raw dried oyster crackersby Kung Gra-ben bay oyster fully integrated producing community at development center of Kung Gra-ben bay initiatedby his majesty King Bhumibol Adulyadej
นายศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล,นางกุลพร พุทธมี,นางรัชดาภา จำปาศรี (ผู้จัดการกลุ่มหอยนางรมฯ)
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบ เปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนและการทำแห้งด้วยแสงแดด โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อนชนิดถาด ใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงแก็ส ที่อุณหภูมิอบแห้ง 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพได้แก่ ปริมาณความชื้น ค่า aw อัตราการพองตัว และการทดสอบทางประสาทสัมผัส ผลการวิจัยพบว่า ข้าวเกรียบหอยนางรมที่ ทำแห้งด้วยอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 ชั่วโมง มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีปริมาณความชื้นเท่ากับร้อยละ 11.37 ค่า aw เท่ากับ 0.68 มีอัตราการพองตัวสูงสุดเท่ากับ 6 เท่า และมีผลการยอมรับทางประสาทสัมผัสในด้าน สี กลิ่น รสชาติ ความกรอบ และความชอบโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยแสงแดด เมื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรม พบว่า การทำแห้งข้าวเกรียบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 ชั่วโมงมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำแห้งด้วยแสงแดด ร้อยละ 16.67 โดยการทำแห้งข้าวเกรียบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนมีกำลังการผลิต 45 กิโลกรัมต่อวัน ส่วนการทำแห้งข้าวเกรียบด้วยแสงแดดมีกำลังการผลิต 37.50 กิโลกรัมต่อวัน และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนกับการทำแห้งด้วยแสงแดด พบว่า ข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนมีต้นทุน 97.84 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนข้าวเกรียบหอยนางรมทำแห้งด้วยแสงแดดมีต้นทุน 102.92 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนเท่ากับ 145,000 บาทต่อเครื่อง สามารถคืนทุนได้ในเวลา 5 เดือน 6 วัน
The objectives of this research were to study the optimal factors and conditions for production of dried raw oyster cracker, to comparison of the efficiency and the cost of dried raw oyster cracker production. The experiments were carried out using conventional drying method (Tray dryer) and sun drying method which that used electric energy and gas fuel at 50, 60 and 70 C for 6 hrs. Physical qualities (moisture content, aw value, expansion index) and sensory evaluation were analyzed. The results showed that the optimal condition was obtained by the conventional drying method at 70 C for 3 hrs with 11.37 % moisture content, 0.68 of aw and highest expansion. For the sensory evaluation, it was found that the sensory scores of cracker (color, flavor, tastes, crispy and overall acceptance) were no significantly difference (P > 0.05) when compared with sun drying method. The efficiency of cracker production, the result showed that the efficiency of conventional drying method at 70 C for 3 hrs had higher than sun drying method at 16.67 % with 45 kg/day of production capacity, and 37.50 kg/day of production capacity for sun drying method. For comparison of cost, it was found that the cost of cracker production with conventional drying method was 97.84 Baht/kg, while the cost of sun drying method was 102.92 Baht/kg. Which the cost of the instrument of conventional drying method was 145,000 Baht, it could pay back period in 5 months and 6 days.
ข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้ง
Dried oyster crackersby
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-14 11:21:50