ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การฟอกตัวของน้ําต่อคุณภาพน้ําตกในเขตอุทยานแห่งชาติของจังหวัดจันทบุรี
Self-purification to the Waterfall Quality in National Park of Chanthaburi Province
จักรพันธ์ โพธิพัฒน์ , ภัทร ศรีสรวล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานวิจัย
2561
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณภาพน้ําและการฟอกตัวของน้ําตกในเขตอุทยาน แห่งชาติของจังหวัดจันทบุรี ดําเนินการเก็บตัวอย่างน้ําแบบจวงตักจากน้ําตก 3 แห่ง คือ น้ําตกเขาสิบห้าชั้น, น้ําตกกระทิง และน้ําตกพลิ้ว ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน กําหนดตัวบ่งชี้คุณภาพน้ํา ทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ อุณหภูมิ, พีเอช, ค่าการนําไฟฟ้า, ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ํา, ความขุน, ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ํา, บีโอดีและฟอสเฟต ผลการศึกษาคุณภาพน้ําของน้ําตกทั้ง 3 แห่งและการฟอกตัวของธารน้ําทั้งหมด 4 เขต ได้แก่ เขตการสลายตัว, เขตการเน่าเสีย, เขตฟื้นตัวและเขตสะอาดหรือสภาพปกติ พบว่า คุณภาพน้ํา ของน้ําตกทั้ง 3 แห่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ําผิวดินประเภทที่ 2 ยกเว้น บีโอดี ในขณะที่ผลการศึกษาการฟอกตัวของน้ําทั้ง 4 เขตชี้ให้เห็นว่า บีโอดีมีผลกระทบสูงหรือ น้ํามีความสามารถในการฟอกตัวได้ต่ําเนื่องจากทุกตัวอย่างน้ําพบค่าบีโอดีสูงกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน
This research studied water quality and self-purification of waterfall in national park of Chanthaburi province. Three waterfalls namely; Khao Sip Ha Chan, Krathing and Phlio were collected by using grab water technique during dry and wet seasons. Various water quality indicators such as temperature, pH, conductivity, total dissolved solid (TDS), turbidity, dissolved oxygen, biochemical oxygen demand (BOD) and phosphate (PO4%) were determined. The waterfall qualities were qualified with surface water quality standard (Class II), except BOD. Likewise, four self-purification zones were high impact due to BOD as higher than 1.5 mg/l of all water samples.
การฟอกตัวของน้ํา คุณภาพน้ํา น้ําตก อุทยานแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี
Self-purification, Water quality, Waterfall, National park, Chanthaburi
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-03-27 10:04:47