ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการพัฒนาการบริการรถโดยสาธารณะ จังหวัดจันทบุรี
Guidelines for the Development of Public Transportation in Chanthaburi Province
นภดล แสงแข , สิทธิชัย ศรีเจริญประมง , นันทภัค บุรขจรกุล , ภานิตา โพธิ์แก้ว และ กรรณิกา สุขสมัย
คณะวิทยาการจัดการ
0
การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาการบริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์ปัจจุบันของการบริการรถโดยสารสาธารณะ ในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อประเมินระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงานของการบริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริการรถโดยสารสาธารณะ ในจังหวัดจันทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ดำเนินการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 12 คน และการศึกษาจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติ t-test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มและหาความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและผลการปฏิบัติงานในการให้บริการรถโดยสารสาธารณะจำนวน 30 ตัวแปรใน 5 มิติ ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร (Crew ) 2) ด้านค่าโดยสาร (Fare rate) 3) ความเชื่อถือได้ของการบริการ(Reliability) 4) ความสะดวกสบายในการรับบริการ (Accessibility) 5) สภาพแวดล้อมในการบริการ (Environment) โดยการวิเคราะห์ด้วยหลัก IPA (Importance Performance Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 5 ตัวแปรที่อยู่ในระดับความสำคัญต่ำและมีผลการปฏิบัติงานดี ได้แก่ การขับรถถูกกฎจราจรมีระเบียบวินัยในการขับรถ การบริการเชื่อมั่นว่าปลอดภัยระหว่างการเดินทาง ด้านความปลอดภัยในการขึ้น/ลง ตามจุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ความสะดวกในการจอดรับ-ส่งตามความต้องการผู้โดยสาร ป้ายแสดงการจอดรับ-ส่งผู้โดยสารชัดเจน มีจำนวน 9 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญต่ำและผลการปฏิบัติงานต่ำ ได้แก่ การแต่งกายของผู้ให้บริการ ความกระตือรือร้นและความตั้งใจในการบริการ ความคุ้มค่ากับการบริการที่ได้รับ มีป้ายแสดงอัตราค่าโดยสารชัดเจน การบริการเชื่อมั่นว่ารวดเร็วถึงปลายทางตามเวลา การมีจุดนั่งพักรอรถโดยสารสาธารณะที่เหมาะสมเพียงพอ การให้บริการเส้นทางเดินรถหลากหลายตรงตามความต้องการ ภายนอกรถโดยสารสะอาดและได้รับการดูแล ภายในรถโดยสารได้มาตรฐานมีความสะอาดเรียบร้อย และจำนวน 10 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญสูงและผลการปฏิบัติงานดี ได้แก่ มีประสบการณ์และทักษะในการขับรถ บริการด้วยความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ ราคาค่ารถโดยสารมีความเหมาะสมกับระยะทาง ความถูกต้องในการเก็บและทอนเงินค่าโดยสาร การระบุชื่อผู้ให้บริการ ใบขับขี่ ทะเบียนรถ และเบอร์โทรศัพท์ การจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารเป็นตามตำแหน่งป้ายจอดรถ ความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง ช่วงเวลาการเริ่มและสิ้นสุดให้บริการเหมาะสม สภาพรถโดยสารมีความพร้อมให้บริการ แสดงหมายเลขรถโดยสาร ป้ายบอกเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ขณะที่ 6 ตัวแปรอยู่ในกลุ่มระดับความสำคัญสูงแต่ผลการปฏิบัติงานต่ำ ได้แก่ การพูดจากับผู้โดยสารที่สุภาพ การกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะตลอดเส้นทาง การออกรถโดยสารตรงเวลาจากสถานีเริ่มต้น การบรรทุกผู้โดยสารตามจำนวนที่ระบุไว้ตามกฎหมาย จำนวนเที่ยวรถโดยสารที่เพียงพอต่อความต้องการในการเดินทาง การมีปริมาณที่นั่งเหมาะสมไม่เบียดเสียด จากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำไปสงเคราะห์เพื่อเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาการบริการรถโดยสารสาธารณะ ในจังหวัดจันทบุรี ใน 5 มิติ คือ 1) ด้านบุคลากร-การให้บริการด้วยอัธยาศัยและสุภาพ 2) ค่าโดยสาร-การกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้ชัดเจน 3) ความเชื่อถือได้-การออกรถโดยสารให้ตรงตามตารางเวลาและจำกัดจำนวนผู้โดยสารตามกฎหมาย 4) ความสะดวกสบาย-เพิ่มจำนวนเที่ยวรถที่เพียงพอต่อความต้องการ และ5) สภาพแวดล้อม-การมีที่นั่งที่เหมาะสมไม่เบียดเสียด ขณะเดียวกันสิ่งที่ควรรักษามาตรฐานและพัฒนาเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการบริการ คือ 1) ด้านบุคลากร-ประสบการณ์และทักษะในการขับรถ 2) ค่าโดยสาร-ค่าโดยสารที่ถูกกว่าการให้บริการรถโดยสารรูปแบบอื่น 3) ความเชื่อถือได้-มีการระบุชื่อผู้ให้บริการ ทะเบียนรถ เบอร์โทรศัพท์ที่ชัดเจน 4) ความสะดวกสบาย-มีช่วงเวลาเริ่มและสิ้นสุดการให้บริการในแต่ละวันเหมาะสม และ5) สภาพแวดล้อม-สภาพรถพร้อมในการให้บริการและมีหมายเลขรถและป้ายบอกเส้นทางชัดเจน
The purposes of this study were 1) to analyse the current service situations of the public transportation in Chanthaburi Province, 2) to assess the level of importance and performance of the public transportation in Chanthaburi Province and 3) to propose the development approaches of the public transportation services in Chanthaburi Province. The mixed method was used as research tools. The qualitative data were collected by semi-structure interview from 12 participants and the quantitative data were collected by using questionnaire from 400 participations. The data from questionnaires were analysed according to frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and measuring IPA by using gap analysis and thematic analysis comparison of the importance and performance of the public transportation services within 30 factors of 5 dimensions. The results of this study found data on the IPA grid presentation and plotted into four quadrants according to the mean scores. 5 variables in “Possible overskill” were driving by traffic rules and discipline in driving, trust that safety during travel, safety in the up/down at the pick-up point, the convenience of pick-up as the needs of passengers, the sign indicating the stop/transport of passengers clearly. 9 variables in “Low priority” are the dress of providers, enthusiasm and determination in service, the value of the services received, a clear sign showing fares, confidence that destination is reached on time, having an appropriate seat area waiting for public transport, providing various routes to meet the needs, the vehicle is clean and maintained, the area inside the vehicle is standard and clean. 10 variables in “Keep up the good work” were having the experience and skills of driving, service with equality, not discrimination, accuracy in fare collection and change, specifying the name of service provider driver’s license vehicle registration and telephone number, the pickup/drop off of passengers at the parking stop, convenient transportation connection, the appropriateness of service start and end periods, the vehicle conditions are available, showing bus numbers, clear route directions. However, there were 6 variables in “Concentrate here” which were providing service with hospitality and politeness, clearly specify fares by distance, the departure according to schedule, limit the number of passengers related the law, increase the number of departures to meet the needs, the number of seats as standard and not crowding. According to the study lead to recommendations, the public transportation service in Chanthaburi Province should be given priority to improve and develop toward 5 dimensions as follows: 1) Personnel dimension-Providing service with hospitality and politeness 2) Fare rate dimension-clearly specify fares by distance 3) Reliability dimension-the departure according to schedule and limit the number of passengers related the law 4) Convenience dimension-increase the number of departures to meet the needs 5) Environment dimension-the number of seats as standard and not crowding. In terms of the aspect on working as standard, the public transportation in Chanthaburi Province should keep up the good work in 5 dimensions as follows: 1) Personnel Dimension-experience and driving skills 2) Fare rate Dimension-Fare rates are cheaper than other transportation services 3) Reliability Dimension-The name of driver, vehicle registration and telephone number are clearly specified 4) Convenience Dimension-appropriate service schedules for the start and end of each day 5) Environment Dimension-the vehicle conditions are ready to service, including vehicle number and clearly transportation route signs.
รถโดยสารสาธารณะ, การบริการ, ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน
Public transport, Service, Importance and performance level
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-29 10:34:47