ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ยุทธศาสตร์การบูรณาการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อผลิตซ้ำ เศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดจันทบุรี
Integrated Community-based Tourism Strategies for Reproduction of Sufficiency Economy in Chanthaburi Province
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ และจำลอง แสนเสนาะ
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2559
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส้ารวจทรัพยากรการท่องเที่ยว สินค้าท่องเที่ยว และสิ่งอ้านวยความสะดวก ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับต้าบลของจังหวัดจันทบุรีอันจะน้าไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์การบูรณาการและจัดท้าฐานข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดจันทบุรีเพื่อการผลิตซ้้าเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า (Oral History) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของจันทบุรีโดยอาศัยการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นควรต้องมีการ บูรณาการระหว่างการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เชิงนิเวศ เชิงวัฒนธรรม เชิงเกษตร เชิงศาสนา การท่องเที่ยวชายทะเลและการท่องเที่ยวโบราณสถานเข้าด้วยกัน เพื่อให้จันทบุรีสามารถบรรลุประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ จากการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค พบว่าจากฐานะทางยุทธศาสตร์ในการท่องเที่ยวชุมชนของจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะยุทธศาสตร์เชิงรุกนั้น จึงมีความจ้าเป็นต้องขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดจันทบุรี โดยมุ่งใช้จุดแข็งของจังหวัดจันทบุรี เพื่อมาพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อโอกาสที่เอื้ออ้านวย ดังนั้นแนวทางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดจันทบุรี ควรให้ความส้าคัญกับยุทธศาสตร์การใช้งานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏเป็นตัวส่งผลเชื่อมโยง (Linkage Effect) ให้เกิดการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ยุทธศาสตร์การบูรณาการท่องเที่ยวโดยใช้การสร้างเครือข่ายในระดับต้าบลและการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
The purpose of this research was to conduct a survey on tourism resources, tourism products, and tourism facilities in tourism management made by the sub-district communities in Chanthaburi province leading to the integrated strategy development and tourism database creation done by the community in Chanthaburi province for the reproduction of sufficiency economy in Chanthaburi province. The mixed method with the approaches of documentary research, oral history, structured interview, and in-depth interview were used in this study. The results showed that the sufficiency economy in Chanthaburi province driven by the tourism management made by the community should be integrated with historical tourism, ecotourism, cultural tourism, agricultural tourism, religious tourism, coastal tourism, and archaeological site tourism. These were in order to obtain effectiveness and efficiency of the tourism operated by the community. The findings of qualitative analysis identified about strengths, weaknesses, opportunities, and threats as well as the condition of community tourism strategies in Chanthaburi province should be focused on the approach strategies. Thus, the community tourism in Chanthaburi province should be necessarily driven with the emphasis on Chanthaburi province’s strengths in order to create more benefits and favorable opportunities. The driven strategic guidelines for the community tourism in Chanthaburi province should be focused on the application of the Worship Festival of a Sacred Buddha Footprint on Khitchakut Mountain as linkage effects of the tourism in Chanthaburi province. The integrated community based tourism with the sub-district networking establishment and human resource development related to the tourism management operated by the community should be created.
การผลิตซ้้าเศรษฐกิจพอเพียง การท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการ
Sufficiency Economy Reproduction, Integrated Community-based Tourism
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 11:24:27

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด