Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
นิเวศวิทยาประชากรหิ่งห้อย (Insecta: Coleoptera: Lampyridae) ในป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Population ecology of firefly (Insecta: Coleoptera: Lampyridae) in Welu wetland mangrove forest, Chanthaburi province
ชื่อผู้แต่ง
สรศักดิ์ นาคเอี่ยม , ชุตาภา คุณสุข และ ชวัลรัตน์ สมนึก
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2561
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การสำรวจความชุกชุมของหิ่งห้อย เริ่มสำรวจตั้งแต่กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ในพื้นที่ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ บ้านท่าสอน ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยสำรวจทั้งหมด 12 ครั้ง พบหิ่งห้อยตัวเต็มวัย 1 ชนิด คือ Pteroptyx malaccae สามารถพบหิ่งห้อยได้ทุกครั้งที่สำรวจ แต่มีความแตกต่างกันของประชากรในแต่ละสถานีศึกษา และในแต่ละเดือนที่ศึกษา แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 สถานีศึกษา เก็บข้อมูลแต่ละสถานีเป็นระยะทาง 100 เมตร แต่ละสถานีเก็บข้อมูลแยกกันเป็น 2 ฝั่ง ซ้าย ขวา สำรวจตั้งแต่เวลาหลังพระอาทิตย์ตก นับจำนวนประชากรของหิ่งห้อย ตัวเต็มวัย โดยใช้การถ่ายภาพนิ่งต้นไม้ที่มีหิ่งห้อยเกาะทุกต้นในสถานีศึกษา จากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ยของจำนวนตัวในแต่ละสถานี และแต่ละเดือนที่สำรวจ ผลการศึกษาพบว่า สถานีที่ 1 ฝั่งซ้าย เป็นสถานีที่พบความชุกชุมของหิ่งห้อยสูงที่สุด พบหิ่งห้อยได้ตลอดทั้งปี มีประชากรเฉลี่ยตลอดทั้งปีสะสมเท่ากับ 1,453.14 ตัว และมีประชากรเฉลี่ยสูงที่สุดในเกือบทุกเดือนที่ศึกษา สถานีที่ 3 ฝั่งซ้าย พบหิ่งห้อยได้เพียง 2 เดือน มีประชากรเฉลี่ยตลอดทั้งปีสะสมเพียง 26.33 ตัว แต่ละสถานีมีความแตกต่างของประชากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.00) ผลการศึกษาความชุกชุมของหิ่งห้อยเป็นรายเดือน พบว่า ในเดือนมีนาคม พบความชุกชุมของหิ่งห้อยเฉลี่ยของทุกสถานีสูงที่สุด103.08 ตัว รองลงมาคือเดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน ซึ่งพบความชุกชุมเฉลี่ย 63.15 และ 60.95 ตัว ตามลำดับ เดือนธันวาคมและ เดือนกรกฎาคม พบหิ่งห้อยน้อยที่สุดที่ความชุกชุมเฉลี่ย 3.66 และ 9.84 ตัว ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรเฉลี่ยของหิ่งห้อยแต่ละเดือนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.33) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกชุมกับปัจจัยทางกายภาพ บางประการของแหล่งอาศัย พบว่าออกซิเจนละลายเป็นปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับความชุกชุมของหิ่งห้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.03) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
Survey on abundance of fireflies was conducted in Welu wetland mangrove forest, Chanthaburi province between February 2018 and January 2019. The 12 surveys were started after sunset. Only one species of Pteroptyx malaccae was recorded. The adult populations of those species were found in all surveying periods with the difference of population abundance in difference study stations as well as study months. The study area was divided into 3 study stations with each station was 100 meters length and separated each station into left and right parts for separate data. The adult fireflies which perching and flashing on the display trees were photographed with long exposure for counting of firefly abundance and averaged the abundance per station and month. The result reveals the most abundance in the left part of 1st station and were found all year round. The left part of 1st station carries the cumulative average population (CVP) for 1,453.14 individuals. The lowest abundance with 26.33 individuals of CVP was recorded in the left part of 3rd station and were found only 2 months. The result shows the significant difference of the abundances between the study stations (P = 0.000). The most average abundance per month was recorded in March followed by February and April with 103.08, 63.15 and 60.95 individuals per month, respectively. The lowest was recorded in December with 3.66 individuals, the next was July with 9.84 individuals per month. There was no significant difference on the average abundance per month (P = 0.333, α = 0.05). The correlation analysis between some physical factors and abundance of firefly was calculated. The result reveals significant correlation between the abundance of firefly and the dissolved oxygen (DO) in the positive direction with P = 0.03, α = 0.05.
คำสำคัญ
หิ่งห้อย, ความชุกชุม, ปัจจัยทางกายภาพ, แหล่งอาศัย, ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ
Keywords
Firefly, Abundance, Physical factors, Habitat, Welu wetland mangrove forest
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-10-01 10:41:06
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก