ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด
Problem condition analysis Obstacles and Guidelines for household Accounting to improve the quality of life of the villagers at Baan Moo 1, Koh Kood Sub-district, Koh Kood District, Trat Province.
วิชิต เอียงอ่อน และ อลิษา ประสมผล
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรค และ 3) ศึกษาแนวทางในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้แบบสอบถามและการสนทนา กลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนบ้านหมู่ 1 จำนวน 186 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสนทนากลุ่มย่อยเป็นตัวแทนจากภาครัฐ หัวหน้าชุมชนและตัวแทนครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 9 คน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน สาเหตุหลัก ๆ ไม่มีเวลาในการจัดทำ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เคยเข้ารับการอบรมรวมถึงเคยได้รับการแจกคู่มือ สมุด เอกสารการจัดทำบัญชีครัวเรือน สภาพปัญหาและอุปสรรค ภาพรวมอยู่ใน ระดับ มาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ยังสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การสนทนากลุ่มย่อย พบว่า แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ควรมี การเชิญชวน ส่งเสริม สร้างทัศนคติที่ดี สร้างผู้นำต้นแบบ เช่น หัวหน้าชุมชน ฯลฯ เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดทำบัญชีครัวเรือน จัดอบรมให้ความรู้และติดตามผลหลังอบรมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนในชุมชน
This research aimed to 1) study the current condition, 2) analyze the problems and obstacles, and 3) explore guidelines for household accounting to improve the quality of life in Baan Moo 1 Community, Koh Kood sub-district, Koh Kood district, Trat province. The research followed a mixed-method approach utilizing questionnaires and focus group discussions as the research instruments. The sample comprised 186 Baan Moo 1 Community households, with one representative per household. Statistical analysis includes percentage, mean, standard deviation, and insights from the focus group comprising nine representatives from the public sector, community leaders, and household representatives. The findings indicated a lack of household accounting due to time constraints. However, most households have prior experience in accounting and have received support from public agencies, including training and distribution of accounting handbooks and documents. Overall, the analysis revealed the problems and obstacles were at a high level, with the highest mean indicating confusion and a lack of understanding regarding the objectives of household accounting. The focus group discussions found that the guidelines for household accounting to improve the quality of life should have included inviting and promoting active participation, cultivating positive attitudes, and creating role models such as community leaders. Regular training sessions were conducted to provide knowledge and consistent follow-up and create learning resources for household accounting with in the community.
บัญชีครัวเรือน, สภาพปัจจุบัน, แนวทางการพัฒนา
Household Account, Current Condition, Improvement Guideline
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2024-01-25 15:24:04