Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะนิติศาสตร์
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การศึกษาปัญหากฎหมายของชาวประมงใน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Legal problems of the fishermen in Klung District, Chantaburi Province
ชื่อผู้แต่ง
ชินะกานต์ แสงอำนาจ , มัลลิกา พินิจจันทร์ และ นิสิตา เศรษฐาไชย
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะนิติศาสตร์
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2558
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาข้อกฎหมาย ปัญหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ความหมาย ความสำคัญของการประมง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชาวประมง รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำประมงพื้นบ้าน ของชาวประมงในตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ทั้งทางด้านสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา และเรียกขานตนเองว่าเป็น “หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” จากการวิจัยพบว่าชาวประมงในตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการประกอบอาชีพ เพราะมีลักษณะเป็นป่าชายเลนอีกทั้งถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติจึงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นรายได้หลักของประชากรในตำบลมาจากการทำประมงด้วยเครื่องมือหลักรอหรือหลักเคยซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ทางภาครัฐตีความว่าเป็นเครื่องมือที่คล้ายคลึงกับเครื่องมือ “โพงพาง” ซึ่งเป็นเครื่องมือต้องห้าม มิให้ใช้ในการทำประมง มาตั้งแต่ พ.ศ.2521 เมื่อพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ใช้บังคับได้ปรับให้มีอัตราโทษสูงแล้วตีความกว้างขึ้น กล่าวคือห้ามมีไว้ในครอบครองเพื่อทำการประมง มิเช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งหากมีการบังคับใช้อย่างเด็ดขาดจะเกิดผลกระทบต่อชาวประมงในตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อีกทั้ง มาตรา 34 ของพระราชบัญญัติเดียวกันนี้ยังกำหนดเขตการทำประมงชายฝั่งมิให้ออกไปเกินระยะ 3 ไมล์ทะเล ซึ่งด้วยสภาพภูมิประเทศของชายทะเลใน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นโคลนเลนซึ่งไม่เหมาะแก่การทำประมง หากชาวประมงออกไปนอกเขตดังกล่าวก็จะมีความผิดทางกฎหมาย นอกจากปัญหาในการทำประมงแล้ว การขาดการรับรองสิทธิในชุมชนก็เป็นปัญหาสำคัญของชาวประมงในตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพราะแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จะได้บัญญัติถึงการให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์อนุรักษ์ คุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการขาดกฎหมายรับรองสิทธิดังกล่าว สิทธิของชาวประมงจึงมิได้รับการคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็น สำหรับการไขปัญหา นอกจากรัฐจะมีนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้และสัตว์น้ำแล้ว รัฐยังต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่สำคัญที่สุด นั้นก็คือทรัพยากรมนุษย์ โดยรัฐต้องวางนโยบายและแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ โดยให้ชาวบ้านหรือชุมชนเป็นผู้ดูแลทรัพยากรป่าชายเลนและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อให้ชาวบ้านหรือชาวประมงมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในถิ่นฐานของตนเองอย่างมีความสุข และรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The objectives of this dissertation were to better understand problems and obstacles of the laws as well as administration of trawl fisheries. Furthermore, it studied the lifestyles of fishermen in Bang Chan Village in Klung District, Chanthaburi province which is unique in terms of geography and history. It’s called “No Land Village” This study found that fishermen in Bang Chan Village have a limitation to work because this area is the area of mangroves and wetland which comes under national forest reservation area. Therefore, this area does not accept certificate of ownership. Moreover, the main income of traditional fishing communities and trawlers in Bang Chan Village comes from fishing with traditional trawl gear. However, traditional trawl gear, “Phong-Pang” ( a fish trap consisting of a long net laid across part of a river) is illegal since 1978 and imposes increased penalty for illegal traditional trawl gear under the Fisheries Act B.E. 2558 (2015). Fishermen from Bang Chan Village in Klung district concerned over the government’s measures to curb illegal fishing. They believe the regulation will harm villagers who catch fishes to make income to feed their families. And section 34 of the Act ,fishermen can go fishing only 3 nautical mile not more that, Normally the seashore at Klung is muddy so it is suitable for fishery. If they fish more than 3 nautical mile, it is illegal. The lack of certificate of ownership is the significant problem of fishers in Bang Chan Village. Provisions of the Thai Constitutions are relevant to the protection of environmental quality in various aspects including rights of people and community to the management, preservation and utilization of natural resources and local environment. The State should have duties and impose policies to implement such as rights entirely and equitably for people in order to let local people and fishers have better lives and environmental sustainable society.
คำสำคัญ
กฎหมายประมง,ประมงพื้นบ้าน,การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล,ชุมชนบางชัน,หมู่บ้านไร้แผ่นดิน
Keywords
illegal fishing,local fisher , coastal resources management , Bang Chan Village , No Land Village
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-10-01 14:13:33
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย