ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแรงงานสำหรับนายจ้าง
A Study Development of Labor Database System for Employer
กฤติยาภรณ์ คุณสุข, ดวงมณี ทองคำ, ปัญญา วงศ์ต่าย และ กานต์ นัครวรายุทธ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2559
การวิจัยนี้แสดงถึงการศึกษา รวบรวมข้อมูล จากกฎหมาย หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง นายจ้าง ในเขตจังหวัดตราด จันทบุรี แหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำผลการพัฒนาไปใช้เพื่อ การสรุป วิเคราะห์ และอภิปรายผลเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบ และการออกแบบฐานข้อมูลแรงงาน ศึกษารูปแบบใช้งานฐานข้อมูลแรงงานจากความต้องการของนายจ้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านบุคคล ส่วนที่ 2 ความต้องการในการใช้แรงงานต่างด้าว ส่วนที่ 3 ระดับความต้องการในการใช้แรงงานต่างด้าว จากการวิเคราะห์ข้อมูลนายจ้างให้ความสำคัญกับลักษณะงานที่ของแรงงาน สภาพพื้นที่ทำงานของแรงงาน และพฤติกรรมของแรงงาน จากสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนายจ้างผู้ใช้แรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่จังหวัดตราด และจันทบุรีให้ค่าระดับความสำคัญไปในทิศทางเดียวกันคือ พฤติกรรมของแรงงาน สภาพพื้นที่ทำงานของแรงงาน และลักษณะงานที่ทำงานของแรงงาน คือ 4.03, 2.45 และ 2.09 ตามลำดับเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาฐานข้อมูลแรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนายจ้างต่อไป
This research presented a study and data collection of laws, related governmental sectors and employers in Trat and Chanthaburi Provinces as well as from other references. Analysis, design, development and usage of the developed results were used for summarization, analysis and discussion in order to develop guidelines on a labor database system for employers. The questionnaires were used in this research, consisting of 3 parts: personal data, foreign labor demand, and the level of labor demand. According to data analysis, the employers gave priority to labor’s job description, condition of working place and behavior. The survey, using questionnaire, showed that the employers who employed foreign labors in Trat and Chanthaburi had the same level of significance on labor’s behavior, working place conditions and job description at 4.03, 2.45, and 2.09 respectively. Thus could be further used as development guidelines on labor database development that responds to the employers’ needs.
ฐานข้อมูล, แรงงาน, นายจ้างฐานข้อมูล, แรงงาน, นายจ้าง
database, labor, employer
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-01-28 12:14:39

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด