ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสู่ความเป็น พลเมืองในศตวรรษที่ 21
Guidelines to Develop Student Teachers of 21st century population
ณิชาภา เจริญรูป , ณัฐพงษ์ จรทะผา
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในทัศนะของครูพี่เลี้ยงเปรียบเทียบลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในทัศนะของครูพี่เลี้ยง จำแนกตามสาขาวิชา และศึกษาแนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สู่ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ คือ 1) ทักษะชีวิตและการทำงาน 2) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3) ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) แบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 38 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .54 – .92 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-way ANOVA) ส่วนแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทั้ง 3 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 1 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมและทักษะชีวิตและการทำงาน 2. การเปรียบเทียบลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในทัศนะของครูพี่เลี้ยง โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทางมหาวิทยาลัยควรมีการเตรียมคุณสมบัติของความเป็นพลเมือง 4.0 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การสอดแทรกทักษะชีวิตและการทำงานให้กับนักศึกษาฝึกระสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อให้นักศึกษาได้มีภูมิคุ้มกันและประสบการณ์ทำงานทางตรงก่อนออกฝึกสอน ตลอดจนการจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการสอนสมัยใหม่ เช่น การใช้นวัตกรรมทางการศึกษา การผลิตสื่อที่มีความทันสมัย การฝึกให้นักศึกษาได้เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม โดยเฉพาะผู้นำเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง เช่น ครูผู้นำทางการกีฬา ครูผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์ ครูผู้นำทางสังคมศึกษา เป็นต้น และการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะทางการคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับผู้เรียน การพัฒนาทักษะทางด้านภาษาละการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ จากแนวทางที่ผู้ร่วมสนทนากลุ่มได้ร่วมกันสรุปไว้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างยั่งยืน
The purposes of this research were to survey the characteristics of the 21st century citizenship of the student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University in the opinion of the mentor teachers to compare the attributes of citizenship in the 21st century of the student interns of Rambhai Barni Rajabhat University in the conception of the mentor teachers clsssified by program and to study the guidelines in developing of the student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University towards citizenship in the 21st century. The study was divided into three parts including 1) life and working skills, 2) learning and innovation skills and 3 media information and technology skills. The researcher employed survey research by using a questionnaire on the 21st century citizenship characteristics of student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University. 193 samples were randomly selected with multi-stage sampling. The data were collected using five rating scale questionnaire which contain 38 items.The discrimination per item was lain between .54-.92 and the reliability of the entire questionnaire was at .97. The data were analyzed with statistical package (SPSS) including percentage, mean, standard deviation and One-way ANOVA. In terms of the guidelines in developing the student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University, the researcher used focus group discussion and analyzed the contents according to the group discussion framework. The results revealed that: 1. All three areas of the 21st century citizenship characteristics of the student teachers as a whole was at high level. When considered per part it was founded that two parts were at high level; another part was at medium level, sorting from the highest average score to the lowest scores: media information and technology skills, learning and innovation skills and life and working skills respectively; 2. A comparison of the attributes of the 21st century citizenship of the student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University in the opinions of the mentor teachers showed that the overall and all parts had statistically significant difference at .05 level; and 3. The guidelines in developing the 21st century citizenship characteristics of student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University suggested that the university should prepare 4.0 citizenship attributes of student teachers of Rambhai Barni Rajabhat University by teaching them on life and working skills for student teachers in order to give them readiness and direct working experiences before starting their internships. Training on modern teaching techniques such as educational innovation usage and up-to-date teaching media production, training them to be both leaders and followers; especially to be specialists such as, sport leaders, scientific leaders and social study leaders, and encouraging self-learning from various local resources to develop thinking skills, analyzing skills, modern innovation of media production for learner and language and communication development, especially foreign languages are also included. The approach from focus group discussion would be the guidelines in sustainably evolving capability of student teachers towards the 21st century citizenship.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-30 10:05:23