ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว ในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Development of a Causal Relationship Model of Factors Influencing to College Adjustment of Undergraduate Students, Rambhaibarni Rajabhat University
เจนวิทย์ วารีบ่อ, ธีรพงษ์ จันเปรียง และ อติราช เกิดทอง
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และ (2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 221 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการปรับตัวในมหาวิทยาลัย แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการรับรู้ความสามารถด้านวิชาการของตน แบบวัดความผูกพันที่มั่นคงกับครอบครัว แบบวัดเจตคติต่อการสอนและการเรียนรู้ และแบบวัดการแยกตัวเป็นอิสระ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลการวัดการปรับตัวในมหาวิทยาลัยมีคุณภาพด้านความตรง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย เพราะผ่านการประเมินคุณภาพด้านความเป็นเอกมิติ ความสอดคล้องกลมกลืน และความตรงเชิงโครงสร้าง โดยน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.193-0.877 ความแปรปรวนที่สกัดได้มีค่าเท่ากับ 0.397 ความเที่ยงเชิงโครงสร้างมีค่าเท่ากับ 0.666 และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบอยู่ในระดับที่เหมาะสม และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่นำมาศึกษากับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย มีค่าอยู่ในช่วง 0.404-0.769 ซึ่งทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า ทุกปัจจัยส่งอิทธิพลโดยรวมต่อการปรับตัวในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งส่วนใหญ่มีอิทธิพลในทิศทางบวก ยกเว้นการแยกตัวเป็นอิสระที่มีอิทธิพลในทิศทางลบ โดยปัจจัยที่ส่งอิทธิพลมากที่สุด คือ เจตคติต่อการสอนและการเรียนรู้ รองลงมา คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งมีขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.625 และ 0.413 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการปรับตัวในมหาวิทยาลัย (CA) ได้ร้อยละ 71.30
This research was conducted to: (1) examine the validity of the college adjustment measurement model and (2) development of a causal relationship model of factors influencing to college adjustment. The samples used in the research were 221 graduate students of Rambhai Barni Rajabhat University, gaining from Multi-stage Sampling technique The research instruments consisted of questionnaires on the college adjustment, self-esteem, academic self-efficacy, parental attachment, attitude towards teaching/learning and separation-individuation. The statistics used to analyze the data were exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis and structural equation model. The results found that: (1) the college adjustment measurement model has quality of validity consisting 4 core components, 16 sub-scale because it has been assessed for the quality of the unidimensional, goodness of fit and construct validity. The factors loading values between 0.193-0.877, average variance extracted value was 0.397, construct reliability value was 0.666 and the relationship between the components was at an appropriate level, (2) the covariance between the factors studied and the college adjustment values ranged from 0.404-0.769, all of which were statistical significance at a .01 level. When considering the causal relationship, it was found that all factors had an overall influential on the college adjustment with statistical significance at a .01 level, most of which had a positive influence, except for the independent secession that has a negative influence. The most influence factors are attitude towards teaching/learning, next was self-esteem with the size of influence of 0.625 and 0.413 respectively, and all these five factors together explained variance of college adjustment of the undergraduate students at 71.30%.
การปรับตัวในมหาวิทยาลัย, โมเดลสมการโครงสร้าง, โมเดลการวัด
college adjustment, structural equation model, measurement model
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2023-03-08 14:32:19