Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
มาตรการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Capacity Building Measures for Special Economic Zone Development at Khlong Yai District, Trat Province.
ชื่อผู้แต่ง
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2559
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขและศักยภาพในการดำเนินงานตามนโยบายโครงการนำร่องพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในเขตอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยสำรวจในเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งเอกสารและสัมภาษณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า มีความก้าวหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Infrastructure) เป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างของภาคส่วนต่าง ๆ มีความพึงพอใจค่อนข้างมากในเนื้อหานโยบายและกระบวนการนโยบายของโครงการนำร่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายโครงการนำร่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการศึกษาปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขและศักยภาพในการดำเนินนโยบาย สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาการสื่อสารและการสร้างวาทกรรมเพื่อขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษควรมีการสื่อสารสองทางและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นภายใต้กลไกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ที่มีสำนักงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจตราดเป็นเวทีกลาง ปัญหาการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ควรเน้นการมีส่วนร่วมแบบพบกันครึ่งทาง (Two-ways Process) ระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ปัญหาความไม่พร้อมและความล่าช้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ควรเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้พร้อมต่อการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแผนที่ได้วางไว้ ปัญหาการพัฒนาการท่องเที่ยว ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกชายหาดสาธารณะของภาคธุรกิจเอกชนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ควรใช้บอเดอร์พาสแทนการใช้พาสปอร์ตในการเดินทางท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศ และปัญหาการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ ควรให้ความสำคัญต่อการขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคกับกัมพูชา แทนที่เส้นทางขนส่งทางน้ำ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The research aimed to evaluate work progress and satisfaction of different sectors to study economic, social, environmental, and security impacts, to investigate obstacles, guidelines to solutions and potential of the special economic zone development pilot project in Khlong Yai District Trat Province. The mixed method approaches of quantitative and qualitative research methods were conducted. The documentary research and interview were used as the qualitative research methodology. The result identified about the significant work progress of the special economic zone development pilot project in terms of economic infrastructure. The sample groups from different sectors showed their high level of satisfaction towards the policy and process of the special economic zone development pilot project. The degrees of opinions towards the economic effects resulted from the policy of the special economic zone development pilot project were at a high level. The obstacles included communication and discourse creation for the special economic zone movement which should be consisted of two-way communication and shared vision between the central government and local sectors under provincial administration with Trat Special Economic Development Zone Office acting as the center. The problems of local participation should be focused on two-way process between the central government and the local sectors. The problems of incoordination and delay of infrastructure development should be solved by accelerating and preparing for the economic infrastructure development conforming to the planned policy of special economic zone. The problems of tourism development should be solved by earnestly having law enforcement of public beach intrusion made by private sectors. A border pass should be replaced with the use of passport for the foreigners’ excursion. The problems of logistic center development should be solved by emphasizing the land transportation linking between the regional provinces and Cambodia in place of water transportation.
คำสำคัญ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ, มาตรการเพิ่มศักยภาพ
Keywords
Special Economic Zone, Capacity Building Measures
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-10-01 11:26:07
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก