ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรและประมงอินทรีย์ เชื่อมโยงตลาดชุมชนสู่การท่องเที่ยวเส้นทางอัญมณีและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บนพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
Study of Supply Chain Management and Logistics of Organic Local Fishing and Organic Farming Product Linking Tourism and Agro-tourism Routes Gem Based on the Economic Development of The Community Enterprise Chanthaburi and Trat Province
ณรงค์ อนุพัน
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2561
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะองค์ความรู้และความต้องการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน โดยศึกษาเฉพาะการปลูกพืชผักอินทรีย์เก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสารเชิงลึก การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่คัดเลือกแบบเจาะจง 3 กลุ่ม ได้แก่1) นักวิชาการเกษตร และอาจารย์มหาวิทยาลัย 2) เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์และทั่วไป และ 3) ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่ทำงานด้านเกษตรกรรม จำนวน 45 คน รวมทั้งการสำรวจพื้นที่แปลงเกษตรกร การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การประชุมกลุ่มย่อย การจัดเวทีสรุปและสะท้อนผลการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า สถานะองค์ความรู้และความต้องการ : เกษตรกรมีความรู้และความชำนาญในกระบวนการผลิต เนื่องจากผ่านการเรียนรู้จากการประกอบอาชีพและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนมีความสนใจและตื่นตัวในการผลิตและบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ตามหลักวิชาการเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต รวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการฟาร์มและกลไกการตลาดเพื่อรองรับผลผลิต แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์พบว่า การสร้างมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาสามารถผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนงานในระดับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยภาคีที่เป็นแกนนำ คือชาวบ้าน/เกษตรกร กรมวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรม โดยแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ตลอดโซ่อุปทานการผลิต 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยการผลิต ด้านการผลิตและการจัดการ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต และด้านผลผลิตและการจัดการผลผลิต ในรูปแบบการสร้างเครือข่าย การวิจัยและพัฒนาเชื่อมโยงองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์พื้นบ้านและเชิงพาณิชย์การพัฒนารูปแบบการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในระดับชุมชน การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเกษตรอินทรีย์การวิจัยต่อยอดและพัฒนาเครื่องทุ่นแรง การพัฒนาฐานข้อมูล ระบบการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษา
This qualitative research purposed to study the knowledge status and needs about organic agriculture, and present guidelines to promote organic agriculture to food security and safety for the community. The study focuses on organic vegetable agriculture and reflection form the operating sectors. Collected data by in-depth document analysis, in-depth interview with key informants had been selected by the purposive sampling method; there are 3 groups who are 1) agricultural academicians and university professors 2) general and organic agriculturalists and 3) community leaders and representatives from the state and the private sectors, totaling 45 persons. The study includes the survey on agricultural cultivations, informal discussion, focus group, and public discussion and reflection of the research result to related units. Analyze data by content analysis and validate data with triangulation technique. According to the research, knowledge status and needs: the agriculturalists have the knowledge and skill in production process due to learning from their career and learning sources; moreover, they are interest and alert to agricultural products and consumption greatly but lack accurate information about organic agriculture in compliance with standard certification, including technology adaptation and modern methods in production process, they also deprive of knowledge about farming management system and marketing mechanism to support products. For guidelines to promote organic agriculture, to encourage participation of the development associations is able to firmly push the operation in to community level. The association leaders are the people/agriculturalists, Department of Agriculture, every local administration, and the universities that provide agricultural courses. About the guidelines to promote organic agriculture, the supply chain of the productions includes 4 aspects that are production factors, production and management, innovation and technology in production, and products and product management. It comes up in the form of building a network, research and development in connection with organic agricultural knowledge in local and commercial levels, development of safety standard certification in community level, development of organic village model, further research and development of labor-saving devices, and information and advice system.
เกษตรอินทรีย์ม, ความมั่นคงด้านอาหาร, อาหารปลอดภัย
organic agriculture, food security, food safety
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-28 11:19:15