Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การพัฒนาแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์สำหรับโลจิสติกส์ในกิจกรรมสินค้าคงคลังของอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ในจังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
The Development of a Logistics software Application for Inventory Activities among Processed Fruit Industry in Chanthaburi
ชื่อผู้แต่ง
ศศินภา บุญพิทักษ์ , ปรมินทร์ วงษ์เจริญ และ ภัสสร บุญพิทักษ์
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2562
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา : บริษัทจันทบุรีบีฟรุ๊ต จำกัด โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลัง และเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในระบบสินค้าคงคลังจัดทำกลุ่มของสินค้า ลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บลง คณะผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการหาสาเหตุและปัญหาโดยการตรวจสอบ และแผนผังสาเหตุและผลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางแก้ไข ผลการวิเคราะห์พบว่า บริษัทมีปัญหาเรียงตามความสำคัญดังนี้ ปัญหาด้านสินค้าคงคลัง เกิดจากไม่มีการจัดทำระบบสินค้าคงคลัง ไม่มีการบันทึกข้อมูลสินค้าคงคลัง ขาดการวางแผนการจัดซื้อ การจัดสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ จากปัญหาดังกล่าวคณะวิจัยได้ทำการใช้เครื่องมือการจัดการ ในการแก้ไขปัญหาดังนี้ การจัดทำป้ายและลูกศรบอกทาง การใช้ทฤษฎีและทฤษฎี ER Diagram พัฒนาโปรแกรมสินค้าคงคลัง การกำหนดกระบวนการ การทำงานของการบริหารสินค้าคงคลัง แนวคิด 5 ส. สินค้าค้างสต๊อกมีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหาร สินค้าคงคลัง สามารถทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการตรวจนับสินค้าคงคลังและจัดทำใบบันทึก รายการสินค้าสินค้าคงคลังมีการจัดเรียงหมวดหมู่ตามประเภท มีการวางแผนการ จัดซื้อที่เหมาะสม และมีการระบายสินค้าค้างสต๊อก ผลจากการดำเนินงานทำให้ต้นทุนสินค้าค้างสต๊อกลดลงสรุปผลการวิจัยจากการนำเครื่องมือมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลังโดยลดการสั่งซื้อที่ซ้ำซ้อนสามารถลดลงได้ และปรับปรุงกระบวนการทำงานในระบบสินค้าคงคลังจัดทำกลุ่มของสินค้า ลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาการบันทึกข้อมูลของกระบวนการผลิตก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง กระบวนการที่ 1 การผลิตทุเรียนฟรีซดรายมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 4.20 นาที และหลังปรับปรุง 3.59 นาที เวลาลดลง 0.61 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 14.52 กระบวนการที่ 2 การผลิตทุเรียนทอดมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 4.40 นาที และหลังปรับปรุง 3.67 นาที เวลาลดลง 0.73 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 16.59 กระบวนการที่ 3 การผลิตทุเรียนกวนมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 3.90 นาที และหลังปรับปรุง 3.32 นาที เวลาลดลง 0.52 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 14.87 กระบวนการที่ 4 การผลิตข้าวเหนียวทุเรียนมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 3.29 นาที และหลังปรับปรุง 2.75 นาที เวลาลดลง 0.54 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 16.41 กระบวนการที่ 5 การผลิตทุเรียนเม็ดมะม่วง หิมพานต์ฟรีซดรายมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 3.33 นาที และหลังปรับปรุง 2.72 นาที เวลาลดลง 0.61 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 18.31 และการเปรียบเทียบระยะเวลาการเบิกจ่ายเบิกจ่ายสินค้าก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง การเบิกสินค้าประเภท 1 การเบิกสินค้าทุเรียนฟรีซดรายมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 5.55 นาที และหลังปรับปรุง 4.46 นาที เวลาลดลง 1.09 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 20 การเบิกสินค้าประเภท 2 การเบิกสินค้าทุเรียนทอดมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 5.53 นาที และหลังปรับปรุง 4.46 นาที เวลาลดลง 1.07 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 19 การเบิกสินค้าประเภท 3 การเบิกสินค้าทุเรียนกวนมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 5.58 นาที และหลังปรับปรุง 4.48 นาที เวลาลดลง 1.10 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 20 การเบิกสินค้าประเภท 4 การเบิกสินค้าข้าวเหนียวทุเรียนมีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 4.56 นาที และหลังปรับปรุง 4.01 นาที เวลาลดลง 0.55 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 12 การเบิกสินค้าประเภท 5 การเบิกสินค้าทุเรียนเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีระยะเวลาก่อนปรับปรุง 6.35 นาที และหลังปรับปรุง 5.13 นาที เวลาลดลง 1.22 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 19
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The purpose of this research is to develope of inventory system : Case study of Chanthaburi Bee Fruits Co.Ltd. by increasing the efficiency of inventory management and to improve work processes in the inventory, system create product groups reduce the amount of non-movement products, reduce the amount of storage and reduce storage costs. The research team used tools of find the cause and problem by checking, Cause and effect diagram to analyze problems and find solutions. The results showed that the company has problems according to the importance as follows inventory problems caused by the lack of an inventory system no record of inventory data lack of purchasing planning product classification is not a category. From the above problems the research team has used management tools to solve The following problems : Label and arrow preparation visual control and ER diagram (Entity relations diagram) inventory development program determining the Process of inventory management 5s concepts. Outstanding inventory Management can work more systematically. counts and stock card Records are created. Inventory is organized by category. Have a proper Purchasing plan and stock clearance. The result of the operation caused the Product cost to be reduced. The comparison of the recording time of the production process before improvement and after the improvement of process 1, the production of frozen durian the period before the improvement is 4.20 minutes and after the improvement is 3.59 minutes with a 0.61 minutes decreased by 14.52 percent. Process 2, the production of fried durian the improvement is 4.40 minutes and after the improvement is 3.67 minutes with a 0.73 minutes decreased by 16.59 percent. Process 3, the production of durian paste has a period before of 3.90 minutes before and 3.32 minutes after improvement there is a decrease of 0.52 minutes representing 14.87 percent. Process 4, the production of durian sticky rice has a period of 3.29 minutes before the improvement and 2.75 minutes after improvement there is a decrease of 0.54 minutes representing 16.41 percent. Process 5, production of frozen of durian cashew nuts with a period of 3.33 minutes before of the improvement and 2.72 minutes after improvement there is a decrease of 0.61 minutes representing 18.31 percent. And the comparison of production disbursement time before improvement and after improvement. Product disbursement type 1, frozen durian has a period of 5.55 minutes before the improvement and 4.46 minutes after improvement there is a decrease of 1.09 minutes representing 20 percent. Process disbursement type 2, fried durian has a period of 5.53 minutes before the improvement and 4.46 minutes after improvement there is a decrease of 1.07 minutes representing 19 percent. Process disbursement type 3, durian paste has a period of 5.58 minutes before and 4.48 minutes after improvement there is a decrease of 1.10 minutes representing 20 percent. Process disbursement type 4, durian sticky rice has a period of 4.56 minutes before and 4.01 minutes after improvement there is a decrease of 0.55 minutes representing 12 percent. Product disbursement type 5, frozen of durian cashew nuts has a period of 6.35 minutes before and 5.13 minutes after improvement there is a decrease of 1.22 minutes representing 19 percent.
คำสำคัญ
การพัฒนา, แอพพลิเคชั่น, กิจกรรมสินค้าคงคลัง, อุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป
Keywords
The development, application, Activity Inventory, Processed Fruit Industry
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-09-30 16:00:21
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก