Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
แนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อนและหลังเกิดอุทกภัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Adaptation Approach of People in Chanthaburi Before and After the Flood.
ชื่อผู้แต่ง
ดวงมณี ทองคำ , กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล , เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา , พรพิมล ฉายแสง, กฤติยาภรณ์ คุณสุข และไพลิน ทองสนิทกาญจน์
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2559
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อน และหลังเกิดอุทกภัย วิธีการดำเนินการศึกษาโดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในอำเภอเมืองจันทบุรี, ท่าใหม่, ขลุง, มะขาม, แหลมสิงห์, แก่งหางแมวและเขาคิชฌกูฏ กับเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาอุทกภัย มีแบบสอบสอบถามแบบเลือกตอบ สัมภาษณ์ และการสังเกตเป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติได้แก่ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีพฤติกรรมการปรับตัวภายหลังจากที่ ประสบอุทกภัยมากกว่า 2 ครั้งทำให้มีการสังเกตสาเหตุของปริมาณน้ำที่จะหลากมายังพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์สถานการณ์อุทกภัย และคอยติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนอุทกภัยจากหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการแจ้งเตือนอุทกภัยก็สามารถจัดการทั้งการเก็บสัมภาระเตรียมพร้อมภายในที่อยู่อาศัย มีความพร้อมในการเคลื่อนย้ายยานพาหนะและสัตว์เลี้ยงไปยังที่ปลอดภัย และมีการเตรียมความพร้อมทางด้านของใช้ในชีวิตประจำวันทั้งอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์ให้แสงสว่างอีกทั้งหน่วยงานของรัฐยังมีความพร้อมในด้านการกระจายความช่วยเหลือ หน่วยแพทย์/บรรเทาสาธารณภัยยกเว้นในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมวที่ยังมีความพร้อมทั้งในระบบการเตือนอุทกภัยและความพร้อมในการช่วยเหลือยังไม่ครอบคลุม นอกจากนี้ยังพบว่าหากระดับน้ำมีความสูงประมาณ 1.00 - 1.50 เมตรหรือมีประกาศภาวะฉุกเฉินก็สามารถอพยพออกนอกพื้นที่ไปยังที่ปลอดภัย เนื่องจากมีการวางแผนการอพยพตั้งแต่มีการแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังที่ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 - 1.00 เมตร การเกิดอุทกภัยที่ผ่านมานั้นมีระยะเวลาแค่ 1- 3 วันจึงสร้างความเสียหายเพียงบางส่วน โดยคิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ถึง 10,000 บาทต่อครอบครัวจากที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำให้ประชาชนมีสภาพจิตใจยังคงเป็นปกติ แต่ที่อำเภอขลุงและเขาคิชฌกูฏมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง ปัจจุบันประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยนั้นสามารถยอมรับได้กับปัญหาอุทกภัย และมีการปรับเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะน้ำท่วม ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในหลายอำเภอมีส่วนร่วมกับชุมชนในการหาแนวทางการป้องกันอุทกภัย 2. แนวทางการปรับตัวของเจ้าหน้าที่ส่วนงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในจังหวัดจันทบุรีมี การวางแผนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยทั้งทางด้านอัตรากำลัง ความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์ ช่องทางการสื่อสาร งบประมาณ อบรมเตรียมความพร้อม การเตือนภัย การเยียวยา และการป้องกัน และเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมทางด้านงบประมาณเพื่อจัดสรรอัตรากำลังอุปกรณ์ ช่องทางการสื่อสารและการอบรมตรียมความพร้อมให้กับผู้ประสบภัยจากข้อมูลที่ได้จากเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าหน่วยงานที่ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในจังหวัดจันทบุรีมีความพร้อมด้านต่างๆเพียงพอในการปฏิบัติงานโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ นอกจากนี้จังหวัดจันทบุรีมีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The research aimed to study the adaptation approach of people in Chanthaburi province, both before and after the flooding. The sample group consisted ofpeople who lived in the flooding area in Muang, Thamai, Klung, Makham, Lamsingha,Kanghangmeow and Khaokidchakood districts together with authorities who worked the for flooding protection and rescue section in those areas. The research instruments were a questionnaire, observation and interview. From the data were analyzed by percentage, frequency, mean and standard deviation. The result were as follows: 1. Adaptation of people in Chanthaburi province: an adaptive behavior was found after people affected by flooding more than 2 times. People observed the causes of the abundant amount of water to their residential areas, observed the flood situation and pay attention on the flood warning from government sectors. When the flood warning announced, people managed themselves including their belongings within their own housing and prompted for moving vehicles and animals to the safe zone, and prepared daily necessities such as food, drinking water, medicines and lighting equipment for using during the flooding. Moreover, the government sectors also well prepared for the distribution of assistance for medical/mitigation units except in Kang Hang Meow district where the flood warning system and the availability of assistance were not yet sufficient. It was also found that if the water level was about 1.00 - 1.50 meters high or the state of emergency had been warned, people caned evacuate to the safe areas due to the evacuation plan had been prepared since being alerted to a high water level of about 0.50 - 1.00 meters. In the past, the flooding was only 1-3 days therefore the damage which could be cost less than 10,000 baht per family. From the above, the mental status of people was still in the normal range. However, there were some concerns in Khlung and KhaoKitchakut districts. Currently, the flooding was acceptable for people who lived in the flood risk areas. They also adapted their appliances more suitable to the flooding conditions. People in flood risk areas in many districts were involved with the comminuting to find the ways to prevent the flooding. 2. Adaptation of flood prevention and mitigation authorities in Chanthaburi province: the authorities had planned to prevent and mitigate in case of flooding in terms of man power, assistive devices, communication channels, budget, training, preparedness, warning, remedies and protection. The result showed that, the authorities who worked for the flood protection and rescue section in Chanthaburi province were adequately equipped to perform their work without any obstacles. Moreover, the government sectors with in Chanthaburi province had integrated the cooperation of various agencies in the areas to address the flood problem sustainably.
คำสำคัญ
การปรับตัว, การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย, จังหวัดจันทบุรี, อุทกภัย,
Keywords
Floods, Adaptation, Flood Prevention and Mitigation, Chanthaburi, Province
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-10-01 10:59:19
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย