ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษากำลังดัดของรั้วคอนกรีตผสมน้ำยางพารา
A Study on Flexural Strength of Concrete Fence Containing Para Rubber
พอพันธ์ สุทธิวัฒนะ , ไพลิน ทองสนิทกาญจน์ , อนุรักษ์ รอดบำรุง , เบญจมาศ เนติวรรักษา และ กานต์ นัครวรายุทธ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2561
ปัญหาหลักของรั้วคอนกรีตในปัจจุบันคือการแตกร้าวของคานซึ่งเป็นส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในแนวราบทำหน้าที่รับแรงดัดซึ่งเกิดจากน้ำหนักบรรทุกคงที่และน้ำหนักบรรทุกจร คานดังกล่าวสามารถเกิดการแตกร้าวได้ง่ายเนื่องจากคอนกรีตมีคุณสมบัติต้านทานแรงดัดน้อย ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำน้ำยางข้น ที่มีราคาตกต่ำในปัจจุบันมาเพิ่มมูลค่า ด้วยคุณสมบัติเฉพาะของน้ำยางพาราคือ มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเป็นผลมาจากหน่วยไอโซพรีน ซึ่งเชื่อมกันเป็นโมเลกุลของยาง ดังนั้นเมื่อมีแรงมากระทำต่อยางจะทำให้ยางเปลี่ยนรูปร่าง แต่เมื่อหยุดใช้แรง ยางจะกลับสู่สภาพเดิม ดังนั้น จึงนำประโยชน์ข้อนี้ของยางพารามาใช้ จากการทดลอง พบว่า ที่อัตราส่วนน้ำยางข้นต่อน้ำ (P/W) เท่ากับร้อยละ 0.5 และ 1.0 ให้ค่าความสามารถในการเทอยู่ในช่วงที่ออกแบบไว้ และค่ากำลังอัดสูงสุดที่ 32.7 MPa และค่ากำลังดัดสูงสุดที่ 4.03 MPa ซึ่งค่ากำลังดัดเพิ่มขึ้นจากกรณีที่ไม่เติมน้ำยางข้นถึงร้อยละ 5 ดังนั้น ที่อัตราส่วนของน้ำยางข้นต่อน้ำ (P/W) ไม่เกินร้อยละ 1 จึงเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาผลิตรั้วคอนกรีต เนื่องจากให้ค่ากำลังดัดที่เพิ่มขึ้น และกำลังอัดมีค่าสูงขึ้น
At present, the main problem of concrete fence is the crack in beam, which is a horizontal structure that resists the bending force cause of dead and live loads. Beam is easily cracked because the concrete has less resistance to bending. Therefore, to add value to the Para rubber latex itself that is prone to a temporary price drop currently, it was utilized in the present study. By reason of Para rubber latex’s excellent elasticity due to many isoprene molecules, when force is applied to the rubber, it will change its shape. When the force ceases, the rubber will return to its original state. Given such properties, Para rubber latex can be utilized in this work. From the experiment, it was found that the ratio of Para rubber latex to water (P/W) was 0.5 per cent, 1.0 per cent, obtaining normal workability of concrete; the maximum compressive strength was found at 32.7 MPa with the maximum flexural strength of 4.03 MPa. The flexural strength increased to 5 per cent compared to the case without adding latex. Therefore, the result of this research guaranteed that the ratio of Para rubber latex to water (P/W) was less than 1 per cent, making the most suitable ratio to produce the concrete fence, it can increase flexural strength and compressive strength, consequently
คอนกรีต, กำลังอัด, กำลังดัด, น้ำยางข้น
Concrete, Compressive Strength, Flexural Strength, Para rubber latex
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 16:12:36