ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

กระถางเพาะชำที่ย่อยสลายได้จากเศษวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร
Biodegradable Nursery Pot from Organic Waste Residues in Herbal Medicine Production
เบญจมาศ เนติวรรักษา, พอพันธ์ สุทธิวัฒนะ, อนุรักษ์ รอดบำรุง, วิทวัส สิงห์สังข์ และ กานต์ นัครวรายุทธ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
งานวิจัย
2565
งานวิจัยนี้เป็นการทำกระถางเพาะชำ 2 ชนิด ชนิดแรกใช้วัสดุประสานเป็นกาวแป้งเปียก และชนิดที่ 2 ใช้กากน้ำตาลเป็นวัสดุประสาน ซึ่งอัตราส่วนผสมเศษวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร : วัสดุประสาน คือ 1:1.0, 1:1.5, 1:2.0, 1:2.5 และ 1:3.0 โดยเศษวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งในกระบวนการผลิตยาสมุนไพรพบว่ามีคุณสมบัติทางเคมี เช่น ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรีย์วัตถุ และปริมาณธาตุอาหารหลักผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จึงเหมาะแก่การนำมาทำกระเพาะชำย่อยสลายได้ จากการศึกษา พบว่ากระถางเพาะชำที่ใช้วัสดุประสานเป็นกาวแป้งเปียกขึ้นรูปได้ที่อัตราส่วน 1:1.5, 1:2.0, 1:2.5 และ 1:3.0 ส่วนวัสดุประสานกากน้ำตาลขึ้นรูปได้ที่อัตราส่วน 1:1.5, 1:2.0 และ 1:2.5 โดยกระถางเพาะชำวัสดุประสานเป็นกาวแป้งเปียกอัตราส่วน 1:1.5 ไม่พบการสลายตัวไปกับน้ำเมื่อทดสอบค่าการดูดซับน้ำ มีความพรุนเท่ากับร้อยละ 45.7 ต่างจากกระถางเพาะชำที่ใช้กากน้ำตาลเป็นตัวประสานพบการสลายตัวเมื่อทดสอบค่าการดูดซับน้ำและมีการเสื่อมสภาพภายใน 3 วันของการทดลอง ดังนั้นกระถางเพาะชำที่ใช้วัสดุประสานเป็นกาวแป้งเปียกจึงมีความเหมาะสมต่อการขึ้นรูปและนำไปใช้งานต่อไป
Two types of biodegradable nursery pots were studied. The first type utilizes a binder material made from wet starch paste, while the second type employs molasses as the binder material. The mixing ratios of residual organic materials left in the production process of herbal medicine to the binder material are 1:1.0, 1:1.5, 1:2.0, 1:2.5, and 1:3.0. The residual organic material left in the herbal medicine production process was evaluated based on chemical properties such as pH value, electrical conductivity, organic matter content, and main nutrient content. According to organic fertilizer standards, it is suitable for use as a biodegradable nursery pot. From the study, it was found that nursery pots using a binder material of wet starch paste at the ratios of 1:1.5, 1:2.0, 1:2.5, and 1:3.0 showed moldable. Meanwhile, nursery pots using molasses as the binder material at the ratios of 1:1.5, 1:2.0, and 1:2.5 also moldable. nursery pots with a binder material of wet starch paste at a ratio of 1:1.5 did not dissolve in water during the water absorption test and exhibited a porosity of 45.7%. In contrast, nursery pots utilizing molasses as the binder material exhibited dissolution during the water absorption test and experienced degradation within 3 days of experimentation. Therefore, nursery pots using a binder material of wet starch paste at a ratio of 1:1.5 were deemed suitable for forming and subsequent use.
เศษวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้ง, กระถางเพาะชำย่อยสลายได้, วัสดุประสาน
Organic waste residues, Biodegradable nursery pots, Binder material
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2024-01-16 15:35:31