Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะนิเทศศาสตร์
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Community Potential Development for Sustainable Tourism Management : A Case Study of Tourism Network by Chantaburi Community
ชื่อผู้แต่ง
นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา , สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะนิเทศศาสตร์
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2560
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทในการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม จากนั้นศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้นำชุมชน ท่องเที่ยว จำนวน 7 คน และสนทนากลุ่มเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวกับผู้นำเครือข่ายท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนจำนวน 7 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจันทบุรี อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด เรียงตามลำดับ ส่วนการจัดการท่องเที่ยวของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี เริ่มจากเกิดปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ผู้นำเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนรวมตัวกันค้นหาศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดเด่นในชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการวิจัยโดยมีนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา และเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษา นำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ โดยชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเองทั้งหมด ทั้งการวางแผน จัดประชุม การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงการบริการด้านต่างๆ ทำให้การท่องเที่ยวของชุมชนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน พบว่า 1) ด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เตรียมความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ชุมชนมีการจัดสรรสิ่งที่มีอยู่นำไปใช้ในการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และควรเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความประทับใจ และอยากกลับมาเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านราคา ควรมีการกำหนดราคาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยปรึกษาหน่วยงานส่วนกลางของจังหวัด โดยยึดแนวทางที่ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในส่วนของชุมชนและนักท่องเที่ยวส่วนกิจกรรมควรให้มีความหลากหลาย การจัดแพ็คเกจท่องเที่ยว อาหาร ที่พัก กิจกรรม รวมถึงการได้รับบริการที่ดี คุ้มค่ากับการมาท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 3) ด้านสถานที่ ควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว ทุกเพศ ทุกวัย มีความปลอดภัย ความสะดวกของการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง มีบริการส่งต่อนักท่องเที่ยวเพื่อเดินทางท่องเที่ยวไปยังชุมชนที่เป็นเครือข่าย เกิดการประสานความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนด้วยกัน 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ชุมชนควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยเช่นเว็บไซต์ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่นิยมค้นหาข้อมูลต่างๆจากสื่อออนไลน์ เพราะสะดวก รวดเร็วในการรับทราบข้อมูล
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The purpose of a study on "Community potential development for sustainable tourism management : a case study of tourism network Chanthaburi community " were : 1. to study the tourism management context of tourism network by Chanthaburi community, 2. to study tourism management participation of tourism network by Chanthaburi community and 3. to study the guidelines for potential development in tourism network by Chanthaburi community. The research methodology was mixed. Between the quantitative and qualitative data collecting From a group of samples of 100 tourists using simple random sampling. The research tool used is a questionnaire. Then studied the qualitative research using in-depth interviews. with sample groups, including 7 Tourism community leaders and group discussions on ways to develop community potential in tourism management with tourism network leaders and those related to community tourism in the number of 7 people using a specific selection method Statistics used in data analysis include Frequency distribution, percentage, mean standard deviation and content analysis methods The results found that The sample group was satisfied with the tourism management of Chanthaburi community. Overall at a moderate level When considering each aspect, it was found that in the tourist area The sample group was satisfied with the tourism management of Chanthaburi community. At a high level Moderate level of satisfaction, including price, location, marketing promotion respectively The tourism management of the Chanthaburi tourism network by the community Started with the problem of falling agricultural product prices Community travel network leaders gather together to find the potential and what is featured in the local community. Through the research process with academics from educational institutions And the network of relevant organizations to participate in the consultation Leading to a variety of travel arrangements By the villagers in the community to participate in the management of all themselves Including planning, meeting, design, tourism activities Solving problems and improving various services Make the tourism of the community famous Is known for more tourists The guidelines for the development of tourism management potential of the community, it was found that 1) the community tourism area Prepare the readiness of natural resources and culture. The community has allocated the existing things to be used in tourism management to maximize benefits. And should allow tourists to participate in tourism management To make an impression And want to come back to visit regularly. 2) Price should be determined in relation to tourism management by consulting the central agencies of the province. By adhering to good practices to benefit both the community and tourists. Activities should be diversified. Arrangement of travel packages, food, accommodation, activities as well as receiving good services Worth the trip In order to create sustainable tourism 3) the location should provide facilities in various areas To support the needs of tourists of all ages and safety the convenience of traveling to nearby attractions There is a service to send tourists to travel to the network community. The cooperation in tourism management between communities together 4) Marketing promotion Communities should increase public relations through modern communication channels such as internet sites in order to be consistent with the behavior of tourists who are searching for information from online media because it is convenient, fast to receive information.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพชุมชน, การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Keywords
Community Potential Development, Sustainable Tourism Management
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-01-30 14:18:38
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย