ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดตะเคียนทอง (เพชโรปถัมภ์) อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
Guidelines of Herbal Wisdom Conservative Using Community Participatory : A Case Study of Thakain-thong School (Petcharo-patham) Kaokitchakut District in Chanthaburi Province
เชษฐ์ณรัช อรชุน , ธนกร ภิบาลรักษ์ , ชูวงศ์ อุบาลี , กนกวรรณ อยู่ไสว
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัย
2561
แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรโดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนวัดตะเคียนทอง (เพชโรปถัมภ์) อำเภอเขาคิชฌกูฏ ผลการวิจัย พบว่า ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตของชุมชนตำบลตะเคียนทองอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ได้ก่อตั้งขึ้นมาหลายร้อยปีแล้วตำบลตะเคียนทอง ได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบลเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ชุมชนดั้งเดิมเป็นชาวชองนักมานุษยวิทยาจัดชาวชองอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลมอญ-เขมร (Mon-Khmer) กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและท้องถิ่น พบว่า ควรกระตุ้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมชอง การใช้วิธีเชื่อมโยงโดยร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียน บุคคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกสมุนไพร การร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรวบรวมสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการติดตามผล การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบพบว่า ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร ได้แก่ ร่วมมือกับหน่วยงานเทศบาลตำบลตะเคียนทอง และโรงเรียนวัดตะเคียนทอง โดยใช้รูปแบบเว็บไซต์สมุนไพรท้องถิ่น การเข้าถึงฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ ได้แก่ มีเฟสบุ๊ก เว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์และเพื่อรวบรวมข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้าน ตลอดทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพให้สอดรับกับวิถีชีวิตท้องถิ่นและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 2 แนวทาง ได้แก่ ด้านการจัดการให้มีพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน และด้านวัฒนธรรมและประเพณี
Guidelines of Herbal Wisdom Conservative Using Community Participation A Case Study of the Thakain-thong School (Petcharo-patham) Kaokitchakut District in Chanthaburi Province. The research found that the life of the community in Takiantong district Chantaburi province has been established for hundreds of year.Takian -thong district was established as a district council on March 2, 1995. The original community was an anthropologist who organized the Chong Ethnic group in the Austro-Asiatic language. (Mon-Khmer) The community-based learning process should encourage the community to recognize the value of The Chong culture.The use of collaborative approaches by school administrators, staff and Rambhai Barni Rajabhat University students to take part in the herb, collaboration with local folk herbalists to gather local herbs, participatory management methods include participatory decision-making, participation in the operation to participate in the treatment of benefits, participation in follow-up, the database of local wisdom on herbs, as well as developing a network of data links systematically.The local herbal database system should be developed. It cooperates with Takianthong District and Wat Takian-thong school, using the local herbal site format, access to powerful and potential database that can be used to publish, such as have a facebook page to promote and to gather information on folk herbs. In addition to enhance the capacity of local communities to conserve and utilize biodiversity in line with local livelihoods and sufficiency economy philosophy, there are two approaches : managing the cultivation of local herbs, and culture and tradition.
แนวทาง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, สมุนไพร, กระบวนการมีส่วนร่วม
guidelines, folk wisdom, medicinal herb, participatory techniques
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-01-28 11:16:45