ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ด้วย PC Model
A Study on Student Learning Outcomes of Undergraduate Student in Rambhai Barni Rajabhat University based on Thai Qualifications Framework for High Education using PC Model
วิสันต์ พูนชัย , วิกันยา ประทุมยศ , เลิศชัย จิตร์อารี , นที ยงยุทธ และ เจนวิทย์ วารีบ่อ
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัย
2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่มีการจัดกิจกรรมการสอนแบบ PC Model 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ PC Model 3) ศึกษาความคงทนของผลการเรียนรู้ด้านความรู้หลังจากเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ PC Model และ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบ PC Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 184 คน ได้มาจากเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ 1 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรม 3 ฉบับ แบบทดสอบ 2 ฉบับ และแบบสอบถาม 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระ (Dependent Sample t-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว (One-way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน PC Model คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 1.1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมคิดเป็นร้อยละ 65.85 1.2) ด้านความรู้คิดเป็นร้อยละ 54.91 1.3) ด้านทักษะทางปัญญาคิดเป็นร้อยละ 72.67 1.4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบคิดเป็นร้อยละ 45.26 และ 1.5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีคิดเป็นร้อยละ 80.00 2) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมไม่แตกต่างกัน 2.2) ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ด้านทักษะทางปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความรู้หลังจากเรียนด้วย PC Model ไปแล้ว 2 สัปดาห์ (ระยะติดตามผล) สูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (บ่งบอกถึงความคงทน) และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบ PC Model ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44)
The purposes of this research were to: 1) study learning outcomes according to Thailand Qualifications Framework (TQF) using PC Model, 2) compare the learning outcomes before and after using PC Model in the teaching process, 3) study knowledge sustainability of the learning outcomes after using PC Model and 4) study level of student satisfaction towards learning and teaching process using PC Model. The samples used in the research were 184 graduate students of Rambhai Barni Rajabhat University, gaining from Multi-stage Sampling technique. The research instruments consisted of one lesson plan, three behavioral observation forms, two tests and one questionnaire. The data were analyzed by using a descriptive statistic, Dependent Sample t-test, One-way Repeated Measures ANOVA). The results found that: 1) the mean of student learning outcomes after using PC Model in the teaching process showed that; 1.1) Ethics and moral was 65.85%, 1.2) Knowledge was 54.91%, 1.3) Cognitive skill was 72.67%, 1.4) Interpersonal skill and responsibility was 45.26% and 1.5) Numerical analysis, communication and information technology skill was 80.00%; 2) the comparison of learning outcomes before and after using PC Model showed that; 2.1) there was no difference for Ethics and moral, 2.2) for Knowledge, after learning was higher than before learning with statistical significance at the 0.05 level, 2.3) for Cognitive skill, after learning was higher than before learning with statistical significance at the 0.05 level, 2.4) for Interpersonal skill and responsibility, after learning was higher than before learning with statistical significance at the 0.05 level and 2.5) for Numerical analysis, communication and information technology skill, after learning was higher than before learning with statistical significance at the 0.05 level; 3) after two weeks of learning with PC Model, the students had higher knowledge than after leaning with statistical significance at the 0.05 level (which indicated knowledge sustainability); and 4) the overall satisfaction of the students towards learning and teaching process using PC Model was at the high level (mean was 3.98 and standard deviation was 0.44).
วิธีการสอนแบบ PC Model, ความคงทนด้านความรู้, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา (TQF)
PC Model, knowledge sustainability, Thailand Qualification Framework (TQF)
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-10 16:18:16