ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

กระบวนการสืบทอดและแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเล่นทายโจ๊ก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
The Inheritance Process and Guidelines to reserve Local Wisdom : A Case study of Riddle Game at Phanatnikhom, Chonburi.
อาจารย์พัชรินทร์ รุจิรานุกูล,อาจารย์เกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2556
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมา กระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเล่นทายโจ๊ก ของอ าเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ใช้แนวทางการวิจัย เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้ 1. การเล่นทายโจ๊กของชาวพนัสนิคม มีความเป็นมาโดยพระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีเถร ) เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บ ารุงและเจ้าคณะจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้น ได้น าเอาการเล่นทายโจ๊ก จากกรุงเทพมหานคร มา ถ่ายทอดให้พี่ชายที่เป็นเจ้าของโรงเรียนพนัสจันทนาลัย คือ ครูประภัศร์ จันทน์พยอม ผู้ที่น าเอาโจ๊กปริศนามา เผยแพร่ในอ าเภอพนัสนิคมเป็นคนแรก ในสมัยแรกการเล่นทายโจ๊กจะเล่นในงานสวดศพบนศาลาการเปรียญ ท าให้ มีเพื่อนฝูงญาติพี่น้องมาช่วยอยู่เป็นเพื่อนศพมากขึ้น ต่อมาคนที่น าโจ๊กไปออกให้ทายกันนั้นมีทั้งพระและฆราวาส รูปแบบการเล่นทายโจ๊กของพนัสนิคมพัฒนาขึ้นมี 10 แบบ 14 อย่าง 2. กระบวนการสืบทอดการเล่นทายโจ๊กของชาวพนัสนิคม 1) แหล่งความรู้ ได้รับมาจากวัด และได้ ขยายไปโรงเรียนและชุมชน 2) ผู้ถ่ายทอดและผู้รับรู้การถ่ายทอด ในตอนต้นจากพระสู่ครู จากครูสู่นักเรียน และจาก เพื่อนสู่เพื่อน 3) วิธีการถ่ายทอดได้แก่ การถ่ายทอดทางตรง คือ วิธีการถ่ายทอดการบอกเล่าด้วยปากจากผู้มีทักษะ การเล่นทายโจ๊ก การปฏิบัติจริงโดยการเล่นทายโจ๊ก และการฝึกฝนด้วยตนเองในการเขียนและเล่นทายโจ๊ก ส่วนการ ถ่ายทอดทางอ้อม คือ วิธีการถ่ายทอดจากการสังเกต การจัดท าเป็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่ และ จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมทายโจ๊กมี 3 กลุ่ม คือ ผู้ออกโจ๊ก ผู้ทาย และ ผู้สนใจ วิธีการสร้างโจ๊กปริศนา มี 4 ขั้นตอน คือ 1) มีความรู้เรื่องวิธีการเล่น 2) สามารถแต่งค าประพันธ์ได้ 3) คัดลอกลงแผ่นกระดาษ และ 4) น า ออกแสดง 3. แนวทางทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเล่นทายโจ๊ก ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้มีความรู้เกี่ยวกับ การเล่นทายโจ๊กอย่างกว้างขวาง โดยการเริ่มปลูกฝังความรู้การเล่นทายโจ๊กให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่บุคคล ทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน 2) การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความตระหนักและรู้คุณค่าใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การจัดท าเป็นหลักสูตรท้องถิ่น การผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ 3) การประสานความร่วมมือกัน ของผู้ที่มีบทบาทส าคัญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเล่นทายโจ๊ก ควรเป็นกลุ่มคนทุกกลุ่มร่วมมือกัน เช่น ครู อาจารย์ พระสงฆ์ ผู้น าชุมชนทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ทรงภูมิปัญญา ตลอดจนชาวบ้านในชุมชน 4) หน่วยงานหรือสถาบันที่มีความส าคัญในทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเล่นทายโจ๊ก ได้แก่ วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ และชุมชน พยายามน าเอาการเล่นทายโจ๊กไปบรรจุลงในกิจกรรมของหน่วยงาน
This qualitative research aimed to study the history of The Inheritance Process and Guidelines to reserve Local Wisdom: A Case study of Riddle Game at Phanatnikhom, Chonburi. The study collected data from documents, interviews, focus group discussions. Data were analyzed by content analysis. The results are as follows: 1. The riddle game of people in Phanatnikhom started from Phra Phimontham Ratchabandit (Chob Anujaree) the abbot of Wat Bamrungrat and the primate of Chonburi in those days. He studied how to play from Bangkok and taught his brother, owner of Phanatchantanalai, Praphan Chanphayom who was the first on spreading the game in Phanatnikhom. At first, the game was played at a funeral to attract friends and relatives of the dead to stay at the funeral for long. Later, it became popular among monks and seculars and developed in 10 models and 14 patterns. 2. Inherited process of riddle game of Phanatnikhom people 1) Knowledge derived from temples and has expanded to schools and community 2) The relay and the recipient , at the beginning from monks to teachers, from teachers to students and from friends to friends 3) How to convey include direct is a way the story with the mouth from a joker playing skills competitions, How to convey include direct way that the skilled ones explain others the rules for playing a riddle game, and indirect way is to learn by observing, reading manuals, setting a learning center. The game is consisted of 3 groups which are riddle trail creators, guessers, and those interested. There are 4 steps to create a riddle, 1) Understand the rules, 2) compose a rhyme 3) copy onto paper and 4) be showcasing. 3. The Inheritance Process and Guidelines to reserve Local Wisdom: A Case study of Riddle Game were: 1) Promoting knowledge about playing the game immensely, started by instilling the knowledge of playing the game as widely known to the public, particularly among children and youth, 2) Encouraging children and young people to aware of and appreciate of local knowledge by making the local curriculum, and media to spread the knowledge, 3)The collaboration of those who have a significant role in the conservation of local knowledge of riddle game. It should be a group of all people working together as teachers, monks, community leaders, both official and unofficial, scholars, as well as community residents, and 4) Firms or institutions that are important in the conservation of local knowledge, riddle game, including temples, schools, government agencies and community put efforts to bring the game into the activities of their authorities.
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
Local Wisdom
เจียมจิต บวชไธสง แก้ไขล่าสุด 2020-02-27 14:01:29