ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาโมเดลการวัดสการพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นในมุมมอง ของครูในภาคตะวันออกมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นในมุมมองของครู ในภาคตะวันออก
The Development Competency Teachers’ AssisThe Development Competency Teachers’ Assistant Measurement Model to Needs Assessment of Teachers Perspective in the Easterntant Measurement Model to Needs Assessment of Teachers Perspective in the Eastern
เจนวิทย์ วารีบ่อ และสวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2562
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาและจัดโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วย (2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วย และ (3) ประเมินคุณภาพของนักศึกษาครูตามโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับชำนาญการขึ้นไปในภาคตะวันออก จำนวน 300 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 50 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะครูผู้ช่วย และแบบประเมินคุณภาพนักศึกษาครูตามสมรรถนะความต้องการจำเป็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า (1) สามารถจัดสมรรถนะครูผู้ช่วยได้ 4 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย ซึ่งประกอบด้วย 1) จิตสำนึกของความเป็นครูมี 4 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ความรู้เชิงวิชาการของครูมี 3 องค์ประกอบย่อย 3) ทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพครูมี 6 องค์ประกอบย่อย และการมีมนุษยสัมพันธ์ในสังคมมี 3 องค์ประกอบย่อย (2) โมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยที่จำเป็นต่อความต้องการของโรงเรียนในภาคตะวันออกมีคุณภาพด้านความตรง โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกลมกลืนกับความตรงเชิงโครงสร้าง และ (3) สมรรถนะที่ครูพี่เลี้ยงประเมินให้นักศึกษาครูมากที่สุด คือ การมีมนุษยสัมพันธ์ในสังคม ( = 4.73, SD = 0.43) รองลงมาก คือ ทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพ ( = 4.71, SD = 0.47) จิตสำนึกของความเป็นครู ( = 4.71, SD = 0.40) และองค์ความรู้เชิงวิชาการของครู ( = 4.54, SD = 0.55) ตามลำดับ
This research was conducted to: (1) examine the current state and create the teacher assistant competency measurement model, (2) examine the validity of the teacher assistant measurement model, and (3) determine the student teacher’s quality according to the teacher assistant competency model. The samples used in this research consisted of two group which were: 1) 300 senior professional level teachers in the eastern region derived by multi-stage random sampling and 2) 50 cooperating teachers derived by purposive sampling. The research instruments comprised of 1) a questionnaire on the teacher assistant competency and 2) an evaluation form of the student teacher’s throughout need assessment competency. The statistics used to analyze the data were descriptive statistics, exploratory factor analysis and confirmatory factor analysis. The results revealed three main aspects: (1) The teacher assistant competency could be classified into 4 core components, 16 sub-scale including: 1) teachers’ responsibility consciousness (4 indicators), 2) teachers’ body of knowledge competency (3 indicators), 3) teachers’ essential skills (6 indicators), and 4) social relations (3 indicators). (2) The result of model validity of the teacher assistant competency measurement in the eastern region showed that the model was a fit model and the construct validity, and (3) When considering the competency level of the assistant teacher, the highest average score was social relations ( = 4.73, SD = 0.43), followed by teachers’ essential skills competency ( = 4.71, SD = 0.47), teachers’ responsibility consciousness ( = 4.71, SD = 0.40), and teachers’ body of knowledge competency ( = 4.54, SD = 0.55), respectively.
สมรรถนะครูผู้ช่วย, ความต้องการจำเป็น, ภาคตะวันออก
the teacher assistant competency, needs, the eastern region.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-01-28 10:25:53