Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Local Government Organization Participation Promotion in Non-Traditional Security on Thai – Cambodian Border Zone of the Eastern Region
ชื่อผู้แต่ง
ชูวงศ์ อุบาลี
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2559
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
โครงการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากปัญหาด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น 2) ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกลที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบ 3) มาตรการการเพิ่มศักยภาพการกลไกลที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชายแดนไทย – กัมพูชาในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ วิธีวิทยาการวิจัยเชิงบูรณาการ โดยการวิจัยเชิงปริมาณจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกการสังเกตการณ์และการจัดเวทีระดมความคิดเห็นการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การจัดแยกประเภท และทำการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ และการตีความข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบจากปัญหาด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว ประกอบด้วย ปัญหาความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานปัญหาเสถียรภาพการบริหารการปกครองปัญหาด้านระบบการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่น ปัญหาการว่างงานของประชาชนปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด สำหรับผลกระทบจากปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ ปัญหากลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในพื้นที่ ปัญหารายได้ที่ไม่เพียงพอของประชาชน ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และปัญหาการขาดจิตสำนึกสาธารณะของประชาชน 2) ประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของกลไกลที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วคือการใช้กลไกการเจรจา กลไกทางการเมือง และกลไกด้านการบริหารจัดการงบประมาณกลไกภายใต้แผนการปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจ กลไกการประเมินผลแผนการปฏิบัติงานตามหลักการมีส่วนร่วม กลไกการควบคุมปัญหาแรงงาน กลไกการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานระดับท้องถิ่นระหว่างประเทศ และกลไกการสนับสนุนภารกิจหน่วยงานหลัก สำหรับประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของกลไกลในการจัดการผลกระทบที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น คือ กลไกการจัดการความขัดแย้ง และกลไกการพัฒนาความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกลไกภายใต้แผนการปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจ กลไกการสนับสนุนประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ กลไกการพัฒนาของผู้นำท้องถิ่นสำหรับรองรับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นกลไกการจัดการตามแผนปฏิบัติงานด้านสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ และกลไกการควบคุมแรงงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคธุรกิจ 3) มาตรการการเพิ่มศักยภาพการมีส่วนร่วมของกลไกลในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่คือ (1) มาตรการการเพิ่มทักษะการเจรจาต่อรอง (2) มาตรการจัดระบบการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำ (4) มาตรการสำรวจความต้องการการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (5) มาตรการประเมินผลลัพธ์ของแผนงานด้านเศรษฐกิจ (6) มาตรการการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน (7) มาตรการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน (8) มาตรการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (9) มาตรการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม (10) มาตรการการจัดกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ (11) มาตรการอำนวยการการประสานการปฏิบัติในพื้นที่ 4) การเสนอนโยบายสาธารณะในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชายแดนไทย – กัมพูชาในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ภายใต้กระบวนการเป็นประเทศในประชาคมอาเซียนประกอบด้วย (1) การปรับปรุงข้อกฎหมายให้เอื้อต่อการบริหารงาน (2) การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง (3) การกำหนดนโยบายสาธารณะให้มีความชัดเจน (4) นโยบายการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล (5) นโยบายการส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (6) นโยบายการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดิน (7) การส่งเสริม ควบคุมราคาผลผลิตด้านการเกษตร (8) นโยบายการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหารายได้ (9) การปรับปรุงข้อกฎหมายให้เอื้อกับการสร้างรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (10) นโยบายการสร้างความร่วมมือกับการจัดการปัญหาในทุกระดับ (11) นโยบายการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ (12) นโยบายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และ (13) นโยบายการสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองชายแดนที่เข้มแข็ง
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
The purposes of this study were to study (1) the effect from problems of Non-Tradition security, (2) efficiency of mechanism to manage affectation and growth potential measures of mechanism to manage affectation from problem of Non-Tradition security, and (3) public policy recommendations support strength in local government organization participation on Thai – Cambodian to manage affectation from problem from Non-Tradition security. The integration of quantitative and qualitative research methodologies was applied in this study. The results of the study were as follows: 1) The effects from the problems of Non-Tradition security presented impact including problems of conflict effect to performance, stability administration government, imposition locality systems, unemployment, alien labors and spread out of narcotics. The future impact problem was pressure group in area, international relations, income sufficient, alien labors, destruction the natural environment and lack of public consciousness. 2) The efficiency of mechanisms for participation to manage affectation from problems of Non-Tradition security that had already occurred including the mechanism for negotiation, political mechanism, management budget mechanism, compliance plan of economic mechanism, evaluation compliance plan based on the principles of participation mechanism, controlling labor issues mechanism, information exchange meeting local authorities in international mechanism, and supporting for the mission agency mechanism. The efficiency of mechanisms included conflict-management mechanism, mechanism to develop informal relationships, mechanism under the economy, mechanism for the development of local leaders to support the development of local economy, management mechanisms under the action plan of social and natural resources and labor control mechanisms between local administrative organizations with the enterprise sectors. 3) The measures to enhance in participation of the mechanisms to manage the effects from problems of Non-Tradition security were (1) enhancing negotiation skills (2) measures system administration efficiency (3) measures for reducing its annual expenditure budget (4) measure to explore economic development (5) measures to evaluate the results of the economic plan (6) measure to promote economic activities to the public (7) measure to determine the direction of development of the area corresponding to the community context (8) measure prepared cooperation agreements (9) measure to cleat an engagement process (10) measure to manage international relations activities and (11) Measure director coordination in practice. 4) The public policy to build strength of participation in local government organization on Thai-Cambodian border Zone to manage the effects from problem of Non-Traditional security under the process, countries in ASEAN including (1) contributing to improving the legal administration (2) promotion political participation (3) to define a public policy (4) development policy areas corresponding to community context, based on a balanced use of natural resources (5) policies to promote the economic activity of the local community, along with the development of area of special economic zone (6) land management policies (7) promotion price controls on agricultural productivity (8) policy development capacity of local governments to provide income (9) improving the law to facilitate the creation of revenue for local governments (10) policies, collaboration with management problems at all levels (11) policy integration, collaboration of local authorities (12) policies to promote the participation of all sectors and (13) policies to create a strong sense of citizenship border.
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ความมั่นคงรูปแบบใหม่, ชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา
Keywords
Participation, Local Government Organization, Non-Traditional Security, Thai – Cambodian Border Zone of the Eastern Region
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2020-10-01 11:26:43
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย