ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
Tourist Destination Potential Development Guideline of Kung Grabaen Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi Province
สิทธิชัย ศรีเจริญประมง และ นันทภัค บุรขจรกุล
คณะวิทยาการจัดการ
งานวิจัย
2561
งานวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้ง กระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์1) เพื่อวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อประเมินศักยภาพของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว โดยมุ่งพัฒนาทั้ง 5 ประเด็น ได้แก่ ศักยภาพด้านภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ด้านการบริการนักท่องเที่ยว ด้านกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และด้านความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยว ในภาพรวมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ศักยภาพด้านกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ศักยภาพด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง ศักยภาพด้านความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ศักยภาพด้านภาพลักษณ์อยู่ในระดับปานกลาง และศักยภาพด้านการบริการนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับต่ำ โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้ง กระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ได้นำเสนอซึ่งยึดถือข้อมูลจากข้อค้นพบของงานวิจัยนี้
This research aims 1) to analyse the development policy of the Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center as the main tourist attraction of Chanthaburi Province 2) to assess the potential of the Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center as the main tourist attraction of Chanthaburi Province and 3) to recommend guidelines to develop the potential of the Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center in Chanthaburi Province. The Mixed Method approach of the qualitative research methodology was used in this analysis of development policy and by interviewing executives and staff of the Kung Grabaen Non-Hunting Area, Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center. The quantitative research methodology was used for evaluating the potential of the Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center as the main tourist attraction of Chanthaburi Province by a sample size of 400 tourists. The result revealed that the policy focused on potential development of image, service, physical, value, and safety. The overall of potential of the Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center as the main tourist attraction of Chanthaburi Province was moderate. The highest dimension of the potential realization was physical, followed successively by value, safety, image, and services. Guidelines were proposed for the tourist destination potential development of Kung Grabaen Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi Province based on the finding.
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Tourist Destination Development, Tourism Potential, Kung Grabaen Bay Royal Development Study Center
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 10:32:32