ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การใช้รูปแบบ IK Model ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
The Practice of IK Model in Teaching and Learning Management for Higher Education of Rambhai Barni Rajabhat University to Develop Learning Outcomes of the Students according to Thailand Qualification Framework.(TQF)
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย , วิไลวรรณ์ เขตมรคา , กรฎา สุขุม , พัชรินทร์ พิมพ์โคตร , จีรนันท์ พูลสวัสดิ์ , ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์ และ สมปอง มูลมณี
คณะนิติศาสตร์
งานวิจัย
2561
การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การใช้รูปแบบ IK Model ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยการวิจัยนี้มุ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อ แก้ปัญหาขบวนการเรียนการสอนด้านความรู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TOF) ของนักศึกษา หลังจากใช้รูปแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) ในการจัดการเรียนการสอน 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียน และหลังเรียนหลังจากใช้รูปแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) ในการจัดการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาระดับความคงทนของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) หลังจากการใช้รูปแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) ในการจัดการเรียนการสอน 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการเรียนรู้, แบบทดสอบ, แบบสอบถาม, สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน แบบ Infinity Knowledge Model : IK Model คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม คิดเป็นร้อยละ 81.45 2) ด้านความรู้คิดเป็นร้อยละ 79.02 3) ด้านทักษะทางปัญญาคิดเป็นร้อยละ 80.28 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คิดเป็นร้อยละ 45.26 และ 5) ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีคิดเป็นร้อยละ 80.00 (2) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบ Infinity Knowledge Model : IK Model 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ด้านทักษะทางปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การวัดระดับความคงทนของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) หลังจากการใช้รูปแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) พบว่า ผู้เรียนมีความรู้สูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (บ่งบอกถึงความคงทน) และ (4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบ Infinity Knowledge Model (IK Model) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44)
This research was a part of the study on the practice of IK Model in teaching and learning management for higher education of Rambhai BarniRajabhat University to develop learning outcomes of the students according to Thailand Qualification Framework. This research aimed at developing an innovation for solving problems of knowledge learning and teaching process with the objectives to 1) study learning outcomes of the students according to Thailand Qualification Framework (TQF) after using Infinity Knowledge Model (IK Model) in the teaching process, 2) compare the results of learning outcomes before and after using IK model in the teaching processand 3) study retention learning level sustainability knowledge according to TQF after using IK model in learning and teaching process, 4) Study the level of student satisfaction with the learning process in the Infinity Knowledge Model (IK Model). The sample were 330 students select by purposive sample sampling. The research instrument consisted of the teaching plan ,satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test, f-test. The study were finding as follows ; (1) the learning outcomes of students learning with the Infinity Knowledge Model: IK Model, average score after study 1) terms of morality, ethics at 81.45 percentage 2) knowledge at 79.02 percentage 3) intellectual skills, 80.28 percentage 4) interpersonal skills and responsibility 45.26 percentage and 5) numerical analysis, communication and technology skills, 80.00 percentage (2) comparison of learning results before and after learning with the Infinity Knowledge Model 1) moral and ethics have higher skills than before learning with statistical significance at 0.05 2) knowledge after learning was significantly higher than before learning at 0.05 3) the intellectual skills after the study were higher than before learning at the statistical significance at 0.05.4) the aspect of interpersonal skills and responsibility after learning was significantly higher than before learning at 0.05 5) the numerical analysis skills, communication and technology usage after learning were significantly higher than before learning at 0.05 (3) measurement of the degree of persistence of learning outcomes according to the national higher education qualifications framework (TQF) after using the Infinity Knowledge Model , it was found that after learning higher than before. Study significance at 0.05 and (4) Satisfaction of students method of teaching an Infinity Knowledge Model : IK Model at high level ( = 3.98 and SD = 0.44)
การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
Infinity Knowledge Model, Thailand Qualification Framework (TQF)
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-10 16:07:14