ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู
DEVELOPMENT OF SUFFICIENCY ECONOMY INSTRUCTIONAL PROGRAM TO PROMOTE THINKING SKILLS OF TEACHER PROFESSION STUDENT
นภัส ศรีเจริญประมง และ นางสาววราลี ถนอมชาติ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2559
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 3 การปรับปรุงโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างประชากร ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดทักษะการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่า t (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการคิดของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนทักษะการคิดของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมฯ อยู่ในระดับมาก
The purpose of the study was to develop sufficiency economy instructional program to promote thinking skills of teacher profession student. The program consisted of three stages: 1) Developing the program, 2) Trying out the program and 3) Improving and presenting the program. The sample were thirty teacher profession student. The instruments used in this study were the test of thinking skills of teacher profession student and interview form of the program. The data analyzed using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1. After the field test, the scores on thinking skills of teacher profession student of the experimental group were significantly higher than those of the control group at .01 level. 2. The teacher profession student’s opinions about the program was at the high level.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2021-01-28 13:59:17

ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด