ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน
The Development Creativity Skills and Innovation of Students Bachelor Degree Faculty of Education Rambhai Barni Rajabhat University with Inquiry Cycle (5Es) and Five Steps Learning Management.
ธีรพงษ์ จันเปรียง, เจนวิทย์ วารีบ่อ และ อติราช เกิดทอง
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามช่วงเวลาของการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 5) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน ผลการวิจัย 1) ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า หลังเรียน นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 77.08 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.94 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน ไม่แตกต่างกัน 5) ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ
The purpose of this research were : 1) to study the level of creativity and innovation skills of undergraduate students according to the time of learning management, 2) to compare the creativity and innovation skills of undergraduate students before and after learning management, 3) to compare the creativity and innovation skills of undergraduate students before and after using the 5-step learning management, 4) to compare the creativity and innovation skills of undergraduate students between using the inquiry cycle learning management (5Es) and the 5-step of learning management and 5) to study the satisfaction level of undergraduate students towards learning management in the inquiry cycle (5Es) and the 5-step learning management. The findings were as follows : 1) The results of the inquiry cycle learning management (5Es) after studying showed that the students had score for creativity and innovation skills at 77.08% which was at a very good level. However the 5-step learning management found that the students obtained a score 75.94% of creativity and innovation skills which was at a very good level. 2) Comparing the average score of creativity and innovation skills it was found that after studying with the inquiry cycle learning management (5Es), the students had higher average scores of creativity and innovation skills than before studying. 3) The comparison of average scores of creativity and innovation after studying with the 5-step learning management indicated that the students had higher average scores of creativity and innovation skills than before studying. 4) The results of the comparison of mean scores of creativity and innovation skills between the group who studied with the inquiry cycle learning management (5Es) and the group who studied with the 5-Step learning management, it indicated that there was no difference between the group who studied with the inquiry cycle learning management (5Es) and the group who took the 5-step learning management. The students satisfaction towards the inquiry cycle learning management (5Es) found that the students were most satisfied with obtained from teaching and the learning environment, respectively. And the students satisfaction towards the 5-step learning management found that the students were most satisfied with the teaching and the learning process, respectively.
ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน
Creativity and Innovation skills, Inquiry cycle learning management (5Es), and learning management in a five steps.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2022-08-19 15:43:22