ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี
The Development Communication for Social Network of Senior Persons Dance for Health Activity in Mueng District, Chanthaburi Province
รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา , บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ และ สมพงษ์ เส้งมณีย์
คณะนิเทศศาสตร์
งานวิจัย
2560
โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิถีชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองจันทบุรี (2) ศึกษาเครือข่ายทางสังคมของผู้สูงอายุในกิจกรรมการลีลาศเพื่อสุขภาพ และ (3) หาแนวทางการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมลีลาศ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยระยะแรกศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในเขตเมืองจันทบุรี จำนวน 385 คน ระยะที่สองวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญลีลาศเพื่อสุขภาพจำนวน 40 คน และระยะที่สามจัดกิจกรรมการรณรงค์ทางการสื่อสารลีลาศเพื่อสุขภาพ และประเมินผลกับผู้เข้าร่วมโครงการ 160 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามวิถีชีวิตผู้สูงอายุ แบบสำรวจเครือข่ายทางสังคม แบบวิเคราะห์ SWOT และ TOWS matrix และแบบประเมินโครงการรณรงค์ทางการสื่อสารลีลาศเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์วิถีชีวิตผู้สูงอายุด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ วิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมด้วยโปรแกรม Ucinet 6.0 วิเคราะห์และตีความข้อมูลการวางแผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ และวิเคราะห์ผลประเมินโครงการด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบวิถีชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองจันทบุรี มี 6 ปัจจัย คือ แบบใช้สติปัญญา แบบเฝ้าระวังสุขภาพ แบบการวางแผนการใช้ชีวิต แบบคล้อยตาม แบบสร้างความสัมพันธ์ และ แบบบันเทิง ซึ่งตัวแปรความสนใจลีลาศเพื่อสุขภาพสัมพันธ์กับทุกปัจจัย (2) เครือข่ายทางสังคมลีลาศเพื่อสุขภาพมีค่าเข้าระดับศูนย์กลางสูงสุด คือ 39.00 ค่าศูนย์กลางความใกล้ชิดสูงสุด คือ 100.00 และค่าศูนย์กลางระหว่างสูงสุด คือ 53.473 โดยจำแนกเครือข่ายการทำงานได้เป็น 6 ลักษณะคือ ด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มสมาชิก ด้านการบริหารกิจกรรมลีลาศให้บรรลุวัตถุประสงค์ ด้านการขับเคลื่อนกิจกรรมลีลาศ ด้านการฝึกสอนกิจกรรมลีลาศ ด้านการจัดงานลีลาศสังสรรค์ และด้านการสืบสานกิจกรรมลีลาศของคนรุ่นใหม่ และ (3) แนวทางการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสุขภาพด้วยกิจกรรมลีลาศสังสรรค์ พบว่า มี 3 แนวทาง คือ การวางแผนโครงการ จากการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้ข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกว่ารณรงค์ลีลาศเพื่อสุขภาพการกุศลด้วยการจัดงานสังสรรค์ การดำเนินโครงการ และการประเมินผลโครงการ ซึ่งโครงการมีผู้เข้าร่วม 160 คน ผลการประเมินโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติลีลาศเพื่อสุขภาพในระดับดีมาก
The research aimed to: (i) study factors related to the senior persons’ life-style in urban Chanthaburi area, (ii) explore social networks among senior persons involved in dance for health activity, and (iii) develop a health communication campaign among senior persons via dance for health activity. A mix-method between quantitative and qualitative research methodology was employed. For Phase 1, study life style among 385 senior persons living in urban Chanthaburi was done. Phase 2, an analysis of social network was implemented among forty key informants who were the members of dance for health social network. And phase 3, the dance for health activity communication campaign was organized; then the evaluation was done among 160 members. The research tools were consisted of senior persons’ life-style questionnaire, social network survey form, SWOT and TOWS matrix analysis forms, and dance for health communication campaign evaluation form. Furthermore, the qualitative data collection was done through participatory observation, in-depth interview and focus group discussion. Factor analysis and multiple regressions were used to analyse the data of senior persons’ life-style collected. Ucinet program version 6.0 was employed to analyse the social network. An effectiveness of strategic communication campaign was interpreted, and evaluated via descriptive statistics in forms of frequency, percentage, mean, and standard deviation. The study found out that (i) senior persons’ life-style in urban Chanthaburi area consisted of 6 factors: wisdom, health monitoring, life planning, conformity, relationship, and entertainment. The interest of attending in dance for health activity was correlated with every factors. (ii) The social network of senior persons in dance for health activity was the degree centrality with the highest level at 39.00, closeness centrality with the highest level at 100.00 and betweeness centrality with the highest level at 53.473. Moreover, the task network of senior persons in dance for health divided into 6 parts: group relationship, group activity management, dance activity movement, dance training, dance for health party, and dance for health activity inheritance for new generations. (iii) There were three means to campaign dance for health activity: campaign planning via participatory strategic planning and agreement among members, campaign organisation, and campaign evaluation. The evaluation results showed that knowledge, attitude, and practice--- KAP changed were found among 160 participants in an excellent level.
วิถีชีวิต ผู้สูงอายุ การสื่อสารเพื่อการพัฒนา เครือข่ายทางสังคม ลีลาศ
Senior Persons, Life-style, Development Communication for Social Network, Dance for Health Campaign
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-04-12 20:17:51