ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร1 และ แนวทางการพัฒนา
Satisfaction of Students For Chinesecomunication1 And Development Guidelines
ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์ , Liao Zhanglong , เบญจมาศ ยศสงคราม และ ทิพวรรณ สิงห์ดา
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความวิจัย
2558
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร1 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนารายวิชาดังกล่าวให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 1 ภาคเรียนที่ 2 /2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 105 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร1 และแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของทุกด้าน ทั้งอาจารย์ผู้สอน ด้านการเรียนการสอน ด้านเอกสารประกอบการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล มีระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านอยู่ในระกับมาก (x̅) = 4.26 คิดเป็นร้อยละ 85.25 เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยครั้งนี้ว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร1 เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4.00 หรือร้อยละ 85 ขึ้นไป สำหรับแนวทางการพัฒนารายวิชาภาษาจีนเพี่อการสื่อสาร1 ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนควรใช้สื่ออื่น ๆ เช่น วีดีโอ รูปภาพ ประกอบการอธิบายคำศัพท์ ควรอธิบายโครงสร้างของประโยคให้มากขึ้น ควรสอนให้เป็นสำเนียงเดียวกัน ควรมาสอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอและควรเช็คชื่อก่อนจะเลิกเรียนเพื่อให้โอกาสคนที่มาไม่ทัน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ว่า ควรซ่อมแซมอุปกรณ์การเรียนการสอนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ ควรมีการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตามสมควรและควรจัดครูบาอาจารย์เจ้าของภาษามาพบปะกับนักศึกษาตามโอกาสต่าง ๆ อาจารย์ควรเพิ่มเสียงให้ดังขึ้น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียงช่วยเป็นต้น มหาวิทยาลัยควรมีกิจกรรมให้น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาเรียนมากขึ้น และควรกำหนดหน่วยกิตไม่เกิน 2 หน่วยกิต เนื่องจากเป็นรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป 3) ด้านเอกสารประกอบการสอนปัญหา สรุปได้ว่า ควรมีซีดีแจกหรือหากเป็นไปได้ควรทำคิวอาร์โค้ดบันทึกเสียงอ่านบทเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถทบทวนเนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลา ควรเพิ่มลำดับขีด และคำอ่านพินอินลงไปในแบบฝึกหัดท้ายบทด้วย ควรนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ไม่เรียนแต่ในเนื้อหา ควรปูพื้นฐานด้วยการเน้นบทที่ 1 เรื่องพินอินให้มากกว่าเดิม เพื่อเป็นความรู้ในการเรียนบทที่อื่น ๆ ต่อไปได้ และควรเพิ่มคำอธิบายเนื้อหาให้มากขึ้น เช่น จำแนกคำศัพท์ เพิ่มเติมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น 4) ด้านการวัดและประเมินผล สรุปได้ว่า ควรปรับคะแนนให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ควรมีงานให้ทำเพิ่มสำหรับผู้ที่สอบผ่าน ควรออกข้อสอบให้เหมาะสมกับนักศึกษา ควรเพิ่มคะแนนเก็บในส่วนการให้นักศึกษาตอบนั้นตามบทเรียนเพิ่มเติม ก่อนเรียน และควรอธิบายวิธีการให้คะแนนให้ชัดเจน
The purposes of this research was to study the satisfaction of the student who registered Chinese communication1 and to develop the guideline of teaching method effectively. The samples consisted of 105 students who registered this course in the 2 semester of 2017 academies year. The research instruments were the attitude and the satisfaction questionnaires. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. The research has found that: 1)the satisfaction of students for Chinese communication1 in all aspects are at the high level (4.26) or 85.25 persent, According to the hypothesis of this research that Students are satisfied with the teaching and learning of Chinese for communication1, the guideline to develop the teaching method effectively were to increase the contents to teaching materials and uncomplicated to understand; the lecturers should come to class on time; the process of evaluation should be fair ; invite the native speaker to teach in class and give the students the opportunities to study outside the university.
ภาษาจีน, แนวทางการพัฒนาภาษษจีน, อาจารย์ผู้สอนภาษาจีน, เอกสารประกอบการสอน ภาษาจีน
Chinese, Chinese language development guidelines, Chinese language instructors, Chinese language teaching materials.
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-10-01 14:30:38