Toggle navigation
หน้าหลัก
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามหน่วยงาน
หน่วยงาน
คณะครุศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักศิลปวัฒนธรรม
งานวิจัยตามปี พ.ศ.
แบ่งตามปี พ.ศ.
พ.ศ. 2567
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2545
สถิติงานวิจัย
ประเภทของสถิติ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายในและภายนอก
สถิติงบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
สถิติจำนวนโครงการวิจัยแบ่งตามหน่วยงาน
คณะทำงาน
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
เข้าสู่ระบบ
หน้าหลัก
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
รายระเอียดการวิจัย
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สาขางานวิจัยทั้งหมด
ประวัตินักวิจัย
ค้นหางานวิจัย
งานวิจัยตามคณะ
139
คณะครุศาสตร์
27
คณะนิติศาสตร์
36
คณะนิเทศศาสตร์
2
คณะพยาบาลศาสตร์
89
คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์
30
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
67
คณะวิทยาการจัดการ
130
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16
คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์
107
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
159
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
27
สถาบันวิจัยและพัฒนา
1
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
สำนักศิลปวัฒนธรรม
รายการข้อมูลงานวิจัย
รายการข้อมูลงานวิจัย
ชื่องานวิจัย (ภาษาไทย)
การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี
ชื่องานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Logistics Management System for Tourism Supply Chain in Chanthaburi Province
ชื่อผู้แต่ง
กฤติยา เกิดผล , ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร
สาขางานวิจัย
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัย
ปีงบประมาณ
2560
ชื่อทุน
หน่วยงานเจ้าของทุน
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและบ่งชี้ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี และเพื่อสร้างแบบจำลองในการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งหากมีระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จะส่งเสริมให้การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยว และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยในการพัฒนาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในประเทศไทย จากนั้นทำการจัดกลุ่มปัจจัยโดยใช้แผนภาพความเชื่อมโยง (Affinity Diagram) โดยจัดกลุ่มตามกรอบโซ่อุปทานการท่องเที่ยวซึ่งประกอบด้วย ด้านการเดินทาง ด้านที่พัก ด้านสถานที่ท่องเที่ยว และด้านอาหาร จากนั้นรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณหาน้ำหนักของปัจจัยด้วยเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multiple Criteria Decision Making : MCDM) เพื่อคำนวณคะแนนในแต่ละปัจจัยซึ่งจะใช้วิธีการหาค่าน้ำหนักจากการเปรียบเทียบทีละคู่ (Pair wise comparison) เมื่อได้ค่าน้ำหนักของปัจจัยแล้วนำไปคำนวณหาค่าความสำคัญของปัจจัยย่อยโดยวิธีการ Sample Additive Weight (SAW) แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย จากนั้นสร้างแบบจำลองในการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี โดยการวิเคราะห์โซ่คุณค่าของโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี การวิเคราะห์ช่องว่าง การบูรณาการในการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรี จากการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักทั้ง 4 ด้าน พบว่า ปัจจัยในการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีที่สำคัญที่สุดคือ ด้านการเดินทาง รองลงมาคือ ด้านที่พัก ด้านสถานที่ท่องเที่ยว และด้านอาหาร ตามลำดับ และจากวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยย่อยทั้งหมด 22 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมาก ประกอบด้วย 5 ปัจจัย โดยปัจจัยที่สำคัญมากสุดคือ ความปลอดภัยในการเดินทาง รองลงมาคือ ข้อมูลสารสนเทศในการเดินทาง ความสะอาดของที่พัก ข้อมูลสารสนเทศของสถานที่ท่องเที่ยว และความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ตามลำดับ และจากการสร้างแบบจำลองเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ พบว่าประเด็นที่สำคัญในการพัฒนาคือ การพัฒนาด้านเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการในการพัฒนาทั้งในด้านของภาครัฐหรือท้องถิ่น ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
This research aimed to assess and indicate factors that impacted logistics management system for tourism supply chain in Chanthaburi province as well as create a model to develop logistics management system for tourism supply chain in Chanthaburi province. Tourism is one of the important economic factors in Thailand. The trend of tourist numbers in Chanthaburi province is increasing continuously because it is promoted as a scenery city. If there is an effective logistics management system, it will foster more effective tourism management. This research started form studying a tourism supply chain and collecting data of factors were classified using affinity diagram in accordance with a tourism supply chain framework consisted of transportation, accommodation, tourist attraction and food. Next the data were collected form a sample group and analyzed by calculating the weight of the factors using Multiple Decision Criteria (MCDM) to calculate a scores of each factor with pair wise comparison. After that, the importance of sub-factors was calculated by Sample Additive Weight (SAW), ranked according to their priorities. Finally, the model logistics management system of tourism supply chain in Chanthaburi province was created by analyzing value chain analysis of tourism supply chain, integration gap of logistics development and tourism strategies Chanthaburi province. The result of the research showed the most important factor in the development of logistics management system of Chanthaburi Tourism Supply Chain is transportation, accommodation, food and attraction. And the analysis of the significance of 22 factors, the most important factor consist of 5 important factors. Such as the safety of travel, travel information, cleanliness of accommodation, information of attractions and cleanliness of attraction. According to the create model of logistics management system, it found that the important issues for development consist of the development of tourist attraction route accessibility, tourist attraction competition and information technology, In which it require integrate development from the government or local, tourism entrepreneurs and logistics service providers.
คำสำคัญ
ระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ , โซ่อุปทานการท่องเที่ยว
Keywords
Logistics Management System , Tourism Supply Chain
เพิ่มข้อมูลโดย
ณัฐฐานี ดีซื่อ
แก้ไขล่าสุด
2019-09-30 15:08:12
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์เอกสารดาวน์โหลด
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผู้วิจัย