ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Application of the Sufficiency Economy Philosophy in Daily Life of Students of the Faculty of Agricultural Technology, Rambhai Barni Rajabhat University
ถาวร ฉิมเลี้ยง , สุพร สังข์สุวรรณ และ คณิสร ล้อมเมตตา
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัย
2561
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเปรียบเทียบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตาม เพศ ชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาภาคปกติ ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2561 จำนวน 205 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม จากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ และชั้นปีที่แตกต่างกันมีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่อยู่ในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this research were to study and to compare the application of the Sufficiency Economy Philosophy in daily life of students of the faculty of Agricultural Technology, Rambhai Barni Rajabhat University classified by gender, year, and program. The samples were 205 regular program students who were studying in the faculty of Agricultural Technology in the second semester of academic year 2018. The data were collected by simple random sampling. The research instrument was questionnaires. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. The Scheffe’ method was employed for pair comparison. The results revealed that the application of the Sufficiency Economy Philosophy in daily life of students of the faculty of Agricultural Technology, Rambhai Barni Rajabhat University was at a high level in overall aspects. When each aspect was examined, it was found that the levels of the application in the aspect of moderation, aspect of reasonableness, aspect of self-immunity, aspect of condition of knowledge and aspect of condition of virtue were all high. The hypothesis testing demonstrated that the students with different gender and year had no differences in the application of the Sufficiency Economy Philosophy in daily life. However, the students with the different program were significantly different at the 0.05 level in the application of the Sufficiency Economy Philosophy in daily life.
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ชีวิตประจำวัน, การประยุกต์ใช้, นักศึกษา
Sufficiency Economy Philosophy, daily life, application, students
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2020-09-30 16:04:35