ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ { RBRU E-Research }

รายการข้อมูลงานวิจัย

รายการข้อมูลงานวิจัย

การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
A study of an English Instructional Model Based on Flipped Classroom Approach to Enhance the Ability of Reading Comprehension of Students majoring in English, Faculty of Education, Rambhai Barni Rajabhat University
วัชราภรณ์ เกตุช้าง, ธีรพงษ์ จันเปรียง และ เจนวิทย์ วารีบ่อ
คณะครุศาสตร์
งานวิจัย
2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งหมด 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเงื่อนในการเลือก คือ เป็นนักศึกษากลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ กับผู้วิจัย ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบวัดความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) โดยแบ่งขั้นตอนการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 แนะนำวิธีการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 สืบค้นและจัดกระทำข้อมูล ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์ผลงาน และขั้นที่ 5 การวัดและประเมินผล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินแต่ละองค์ประกอบ พบว่า มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 1) ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีคะแนนความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก
The objectives of this research were: 1) to study the effectiveness of an English instructional model based on flipped classroom approach to enhance the ability of reading comprehension of students majoring in English, Faculty of Education, Rambhai Barni Rajabhat University. The participants were 30 undergraduate students majoring in English. They were selected by purposive sampling in the course of Critical Reading for Teachers of English in the second semester academic year 2022. The research instruments used for collecting data were lesson plans, a pre-post English reading comprehension test, and a student satisfaction questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test for dependent samples. The results of the study found that: 1) An English instructional model based on flipped classroom approach to enhance the ability of reading comprehension consists of 4 components: (1) principles, (2) objectives, (3) 5 stages of instructional procedures: Introducing How to Learn, Searching and Organizing Data, Constructing Knowledge, Creating Products, and assessment and evaluation. The result of the evaluation of all elements by the 5 experts was the appropriate level. 2) The effectiveness of the instructional model indicated that 1) the participants had higher ability of reading comprehension than before studying through the instructional model with statistical significance level of .01. 2) the participants had higher ability of reading comprehension than the criteria at .05 level of significance and 3) the participants had satisfactions towards learning through the instructional model at a high level.
รูปแบบการเรียนการสอน, ห้องเรียนกลับด้าน, ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ, นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ
Instructional model, Flipped Classroom, Ability of Reading Comprehension, Students majoring in English
ณัฐฐานี ดีซื่อ แก้ไขล่าสุด 2024-01-25 15:19:08